วิกฤตประท้วงอาหรับ ผลกระทบส่งตรงทั่วโลก

|
การ ประท้วงในโลกอาหรับที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและขยายวงเข้าไปยังประเทศส่ง ออกน้ำมัน โดยเฉพาะลิเบีย โอมาน และบาห์เรน หรือแม้กระทั่งอิรัก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับซัพพลายพลังงานของโลก โดยความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้กำลังการผลิตน้ำมันลดลง สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและพลังงาน ดังที่เกิดขึ้นกับลิเบียในขณะนี้
นูเรียล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลกชี้ว่า ต้นทุนทางเศรษฐกิจของความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาหนือขยายวงออกไปนอก ภูมิภาคด้วย เห็นได้จากราคาสินค้า คอมโมดิตี้ที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ด้าน เชื้อเพลิงจะน้อยลง และประเทศผู้นำเข้าน้ำมันจะได้รับผลกระทบจากราคาที่ สูงขึ้น บรรดาธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกจะดำเนินนโยบายได้ยากยิ่งขึ้น
นอก จากนี้หากความวุ่นวายขยายวงไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญอย่างบาห์เรน และซาอุดีอาระเบีย ก็จะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งถึง 140-150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอาจทำให้บางประเทศเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เช่น อังกฤษ และบางประเทศในยุโรป
ด้าน ฟอร์บส วิเคราะห์ว่า บริษัทน้ำมันต่างชาติกำลังหยุดการผลิตและค้นหาแหล่งน้ำมันใหม่ในลิเบียชั่ว คราว หากปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วภูมิภาค ก็จะนำไปสู่ยุคของการลงทุนต่ำกว่าความต้องการจริง
แม้ว่าหลายประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาการประท้วงจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการอุดหนุนด้านอาหาร และรายได้แก่ประชาชน แต่แนวโน้มทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้กลับมืดมนขึ้น แม้จะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ติดหล่มในอียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (จีซีซี) ก็มีส่วนทำให้มีการปรับลดแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เช่นกัน ขณะที่ ความพยายามเอาใจประชากรของประเทศต่าง ๆ มีนัยว่ารัฐบาลจะมี รายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคในภาวะที่การลงทุน การเติบโตของภาคเอกชน และกำลังการผลิตในอนาคตกำลังได้รับผลกระทบจากการประท้วงที่ยืดเยื้อ
บรรดา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชี้ว่า ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันจะขาดดุล งบประมาณและบัญชีเดินสะพัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนการเงินในปัจจุบันและอนาคต และจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะเผชิญกับการใช้จ่ายของรัฐบาล สูงขึ้น
ขณะที่ดุลงบประมาณและดุลบัญชีเดินสะพัดจะแคบลง ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้สามารถปรับดุลงบประมาณได้
ขณะ เดียวกันตลาดสินทรัพย์ของประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกำลังปรับฐาน อย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยตลาดหุ้นซาอุดีอาระเบีย ดิ่งลงถึง 16% นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งทำให้ตลาดแทบจะซบเซาเหมือนกับตลาดหุ้นอียิปต์ที่ยังปิดทำการมาจนถึง ปัจจุบัน
นอกเหนือจากความเสี่ยงด้านความมั่นคงของอาหารและพลังงาน แล้ว คลื่นความไม่สงบในโลกอาหรับกำลังส่งผลกระทบต่อทวีปยุโรปในรูปแบบของคลื่น มนุษย์ที่อพยพเข้าสู่ประเทศยุโรปใต้ ซึ่งจำนวนผู้อพยพผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อยุโรปในวง กว้าง ในภาวะที่ยุโรปกำลังต่อสู้กับปัญหาการว่างงานและการรัดเข็มขัดงบประมาณอย่าง เคร่งครัด
สำหรับสถานการณ์ในโลกอาหรับขณะนี้ ประเทศที่ต้องจับตามองเป็น รายต่อไปคือ "ซาอุดีอาระเบีย" ที่มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ซึ่งหากเกิดความวุ่นวายในซาอุฯ ก็จะยิ่งผลักดันราคาน้ำมันให้พุ่งขึ้นอีก
ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ |