สำนักข่าวมุสลิม ผลการสำรวจ คนอาหรับลดความนิยมในตัวโอบาม่า
สถาบัน Brookings ในสหรัฐ เปิดเผยผลสำรวจประจำปีซึ่งแสดงว่า คนอาหรับลดความนิยมในตัวของประธานาธิบดีโอบาม่า และประเทศอเมริกา แต่หันไปให้คะแนนความพึงพอใจในตัวของนายกรัฐมนตรีตุรกีแทน

ผลสำรวจดังกล่าวยังเปิดเผยว่า ชาวอาหรับส่วนใหญ่ยังคงเชื่อต่อไปว่า สันติภาพระหว่างยิวกับปาเลสไตน์จะไม่มีวันเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ครั้งนี้ผู้ที่ตอบแบบสอบถามต้องการแสดงตัวว่าเป็นมุสลิมมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งส่วนมากเลือกที่จะตอบว่าเป็นอาหรับ หรือ เป็นประชาชนในประเทศใดประเทศหนึ่ง
การสำรวจดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก Zogby International โดยสอบถามประชาชนเกือบ 4,000 คน ใน 6 ประเทศตะวันออกกลาง ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดี้อาระเบีย โมร๊อกโก เลบานอน จอร์แดน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โอกาสที่สูญเสีย
ผลการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า ร้อยละ 62 มีความเห็นในเชิงลบต่อโอบาม่า ซึ่งเปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งมีเพียง 23%
มีเพียงร้อยละ 20 ที่ตอบว่า มีความเห็นต่อโอบาม่าในเชิงบวก เปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2009 ซึ่งผู้ที่มีทัศนะด้านบวกอยู่ที่ ร้อยละ 45
ความนิยมที่ลดลงอย่างดิ่งเหวในตัวโอบาม่า ได้รับการคาดไว้ล่วงหน้าแล้วจากนักวิเคราะห์ในตะวันออกกลาง และ สถาบัน Pew ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของคนทั่วโลก ก็ได้เคยทำเอกสารในการสำรวจซึ่งมีผลคล้ายๆ กันมาแล้ว ในช่วงที่โอบาม่าได้ดำเนินการสานสัมพันธ์กับประเทศอาหรับ และมุสลิม เมื่อขึ้นมารับตำแหน่งใหม่ๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ทัศนะในด้านลบต่อนโยบายการต่างประเทศของอเมริกา ยังลดต่ำลงอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าคะแนนนิยมในตัวของโอบาม่าเสียอีก
โดยผู้ตอบแบบสอบถามในการสำรวจครั้งนี้ ร้อยละ 63 คน แสดงความท้อแท้ต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ กับตะวันออกกลาง ซึ่งในการสำรวจปี 2009 มีเพียงร้อยละ 15
จำนวนชาวอาหรับที่มีความหวังในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐหดลงเหลือเพียงร้อยละ 16 จากที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 51
สุนทรพจน์ต่อโลกมุสลิมของโอบาม่าเมื่อ มิถุนายน 2009 แสดงตัวตนของอเมริกาภายหลังเหตุการณ์ 9/11 ในฐานะผู้ต่อต้านการก่อการร้าย และสงครามในอิรัก และอัฟกานิสถาน เป็นจุดเบื้องต้นที่ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ กับโลกมุสลิม
แต่การสำรวจครั้งนี้แสดงผลว่า ชาวอาหรับร้อยละ 61 รู้สึกผิดหวังกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ของโอบาม่า
ส่วนความไม่ชอบใจที่สหรัฐเข้าไปรบในอิรักกลับลดลงอยู่ในอันดับ 2 คือ ร้อยละ 27
จำนวนผู้แสดงความไม่พอใจในการบุกรุกอัฟกานิสถานของสหรัฐ ตามมาอย่างน่าผิดหวังเป็นอันดับ 4 เพียง ร้อยละ 4 คน
ความรู้สึกของอาหรับต่อการเจรจาสันติภาพเริ่มดีขึ้น?
ถึงแม้การสำรวจจะเริ่มต้นเพียง 1 เดือน หลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่คอมมานโดอิสราเอลบุกขึ้นเรือบรรเทาทุกข์ ที่ขนสัมภาระมาบริจาคแก่ชาวกาซ่า จนทำให้มีนักรณรงค์เสียชีวิตถึง 9 คน แต่ทัศนะของชาวอาหรับต่อข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล ก็ดูเหมือนมีชีวิตชีวาขึ้น
โดยร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่เชื่อว่าสันติภาพถาวรระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นได้
การสำรวจก่อนหน้านี้ในปี 2008 ชาวอาหรับร้อยละ 86 คิดว่าจะเตรียมตัวต้อนรับสันติภาพ หากอิสราเอลเต็มใจคืนดินแดนที่ยึดครองไว้อย่างผิดกฎหมาย ในปี 1967 รวมทั้ง ดินแดนเยรูซาเล็มตะวันออก
ในปีที่ผ่านมามีชาวอาหรับร้อยละ 73 ที่คิดเช่นนั้น
จำนวนชาวอาหรับที่กระเหี้ยนกระหือรือจะทำสงครามกับอิสราเอลก็ลดลงเช่นกัน โดยเพียงร้อยละ 12 ที่กล่าวว่าจะยังคงต่อสู้กับอิสราเอล ถึงแม้อิสราเอลจะยอมคืนดินแดนอาหรับที่ยึดครองอยู่ เพื่อการเจรจาสันติภาพก็ตาม ผลสำรวจในปี 2009 อยู่ที่ร้อยละ 25
ประธานาธิบดีมะฮฺมูด อับบาส ของปาเลสไตน์ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอให้อิสราเอลคืนดินแดนอาหรับ เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจในความต้องการเจรจาสันติภาพ ประธานาธิบดีอับบาส ได้รับคะแนนนิยมเป็นที่ 2 รองจากคอลิด เมชาอัล ผู้นำปาเลสไตน์ฝั่งฮามาส
อาหรับนิยมผู้นำตุรกีเพิ่มขึ้น
นายกรัฐมนตรีเออร์ดูแกน แห่งตุรกี ได้รับคะแนนนิยมจากชาวอาหรับในฐานะผู้นำมุสลิมเพิ่มขึ้น โดยมีผู้ตอบว่าชื่นชมเขาร้อยละ 20 ซึ่งเป็นผลจากบทบาทในการสนับสนุนกองเรือบรรเทาทุกข์มุ่งสู่กาซ่า และการที่เขากล้าวิพากษ์อิสราเอลกรณีคอมมานโดบุกขึ้นเรือ
Shibley Telhami อาจารย์มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ และผู้ร่วมทำการสำรวจกล่าวว่า ชื่อของเออร์ดูแกนไม่ได้ถูกนำเข้าสู่การสำรวจในปี 2008 และเขาแทบไม่มีใครกล่าวถึงในปี 2009
ความคิดเห็นของชาวอาหรับต่อประเทศอิหร่านยังคงแตกแยก
โดยจำนวนชาวอาหรับที่เชื่อว่าอิหร่านทำโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติลดลง แต่ก็ยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นซึ่งเห็นว่า อิหร่านมีสิทธิ์ที่จะทำโครงการนิวเคลียร์ ถึงแม้จะเป็นการผลิตอาวุธก็ตาม
ผู้ตอบแบบสอบถามในอียิปต์ และโมร๊อกโก ซึ่งเชื่อว่าอิหร่านกำลังแอบผลิตอาวุธนิวเคลียร์ มีแนวโน้มที่เชื่อว่า อิหร่านก็มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้น
ส่วนความเห็นในซาอุดี้ยังแตกแยกในประเด็นนี้ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในจอร์แดน เลบานอน และเอมิเรสต์ มีความเห็นว่า ควรกดดันให้อิหร่านหยุดโครงการนิวเคลียร์ หากเป็นไปเพื่อการสร้างอาวุธ
ที่น่าสังเกตอีกกรณีหนึ่งคือ ในคำถามที่ถามว่า หากจะต้องแสดงตัวแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามจะตอบว่าเป็นอะไร ระหว่างมุสลิม กับการเป็นชาวอาหรับ หรือประชาชนของประเทศต่างๆ
การสำรวจครั้งนี้ปรากฏว่า มีผู้เลือกตอบว่าจะระบุตัวเองว่าเป็นมุสลิมมากกว่าเดิม โดยการสำรวจในโมร๊อกโก มีผู้ตอบดังกล่าวร้อยละ 61 ส่วนในซาอุดี้มีจำนวนร้อยละ 47
ผู้ตอบคำถามในอียิปต์ ที่กล่าวว่าจะระบุตัวเองว่าเป็นมุสลิม น้อยกว่าในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถึงแม้อียิปต์จะถูกมองว่าเป็นประเทศที่เป็นผู้นำมุสลิมอนุรักษ์ก็ตาม ส่วนในเลบานอน มีผู้ระบุว่าเป็นมุสลิมเพียง 8% และในจอร์แดนอยู่ที่ร้อยละ 16
อาหรับแทบจะไม่มีความเห็นใจยิว นอกจากนายกรัฐมนตรีเออร์ดูแกน แห่งตุรกีแล้ว ผู้นำที่ได้รับความนิยมในสายตาของชาวอาหรับยังมี เช่น ประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวส แห่งเวเนซูเอล่า, ประธานาธิบดีนิโคลาส ซาร์โกซี่ แห่งฝรั่งเศส และโอซามะ บิน ลาดิน ซึ่งรั้งตำแหน่งที่ 7
แต่ถึงแม้ความเห็นเกี่ยวกับสันติภาพกับอิสราเอลจะเริ่มร้อนขึ้น แต่ชาวอาหรับก็ยังคงแสดงความชิงชังชาวอิสราเอล โดยร้อยละ 59 กล่าวว่า รู้สึกขุ่นเคืองทุกครั้งที่ดูภาพยนตร์ หรือรายการเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว เนื่องจากเป็นการทำให้ยิวอยู่ในสถานะของผู้ที่ได้รับความสงสารเห็นใจ มากกว่าชาวปาเลสไตน์ หรืออาหรับ
มีเพียงร้อยละ 3 คน เท่านั้น ที่ตอบว่า รู้สึกสงสารชาวยิวที่ถูกพวกนาซีกระทำ เมื่อได้ดูภาพยนตร์ดังกล่าว
ความรู้สึกชิงชังเข้มข้นมากที่สุดในผู้ตอบแบบสอบถามจากเอมิเรตส์ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 99
ส่วนในโมร๊อกโกร้อยละ 85 ตอบว่ารู้สึกชิงชัง ส่วนอีก 15 % ยังมีความรู้สึกที่ปะปนกัน แต่ไม่มีใครมีความรู้สึกร่วมไปกับภาพยนตร์ที่ได้ดู
เมื่อให้เลือกแสดงความรู้สึก เกี่ยวกับชะตากรรมของชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์ต่างๆ คำตอบที่ได้รับจากชาวอาหรับมากที่สุดคือ “ทำเขาไว้มากก็ต้องได้รับการตอบแทนสาสม” และ “เท่ากับเป็นการแก้แค้นให้ชาวปาเลสไตน์” - www.muslimthai.com |