สำนักข่าวมุสลิมไทย อะบูดาบีเป็นพื้นที่เดียวที่สามารถเพาะเลี้ยงไข่ปลาคาเวียร์ที่มีคุณภาพสูง
สำนักข่าว เอเอฟพี, อัล-อาราบิญา – แม้จะห่างไกลจากทะเลสาบแคสเปี้ยนอันเป็นถิ่นกำเนิด แต่ปลาสเตอร์เจี้ยนก็ถูกประคมประหงมเลี้ยงดูอย่างดีในสระใหญ่ที่เย็นเยียบ กลางทะเลทรายในกรุงอะบูดาบี แต่ละตัวมีท้องที่พองบวมจากการอุ้มไข่ปลาคาเวียร์สีดำ ซึ่งเทียบเท่ากับทองคำอันล้ำค่า ผลผลิตรุ่นแรกจะได้กำหนดเก็บเกี่ยวในปลายปีนี้ และอีกครั้งหนึ่งในปีหน้า

โรเบิร์ต ฮาร์เปอร์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริษัท รอยัล คาร์เวียร์ กล่าวว่า อะบูดาบีเป็นพื้นที่เดียวที่สามารถเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจี้ยนที่มีคุณภาพสูงสำหรับทำอาหารเลิศรส จริงๆ แล้วเฉพาะในอะบูดาบีเอง ความต้องการเนื้อปลาชนิดนี้มีสูงถึงปีละ 14 ตัน
โรงงานนำพันธุ์ปลานี้เข้ามาครั้งแรกจากประเทศเยอรมัน และเพาะเลี้ยงเพื่อหวังได้ผลผลิตปีละ 35 ตันต่อปี โดยทำบ่อบนพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร และติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดน้ำ ซึ่งใช้ระบบเครื่องกรองชีวภาพ และระบบให้อาหารกึ่งอัตโนมัติ และโรงงานยังมีโครงการผลิตอาหารปลาเองด้วย
ไข่ปลาคาเวียร์จากบ่อเลี้ยงในอะบูดาบีราคากรัมละ 4 – 6 ดอลล่าร์ เทียบเท่ากับราคาไข่ปลาตามธรรมชาติ
รัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตไข่ปลาคาร์เวียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก สั่งห้ามการจับปลาสเตอร์เจี้ยนในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากเกรงว่าชาวประมงจะจับปลามากจนสูญพันธุ์ หลังจากนั้นมีการทำโครงการเพาะเลี้ยงจนได้ผลผลิตสู่ท้องตลาดในปี 2553
โรงงานในอบูดาบีเริ่มงานเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจี้ยนในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมาได้เนื้อปลาเพียงไม่ถึง 18 ตันและจะเพิ่มเป็น 124 ตันในรอบนี้
ไข่ปลาคาเวียร์ที่ดีที่สุดมาจากทะเลสาบแคสเปี้ยน ซึ่งอิหร่านเป็นประเทศที่ผลิตมากที่สุด - www.muslimthai.com |