กระแสหวาดกลัวศาสนาอิสลามดูเหมือนจะแพร่กระจายจากยุโรปตะวันตกไป สู่ยุโรปตะวันออก เมื่อล่าสุด ชาวโปแลนด์จำนวนประมาณ 150 คน ได้ออกมาชุมนุมประท้วงที่ชานกรุงวอร์ซอว์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อต่อ ต้านการก่อสร้างมัสยิดและศูนย์วัฒนธรรมศาสนาอิสลามแห่งใหม่ที่ชุมชนชาว มุสลิมในประเทศโปแลนด์วางแผนจะก่อสร้างขึ้น
โดยผู้ชุมชนประท้วงได้รวมตัวกันหน้ามัสยิดที่กำลังก่อสร้างโดย สันนิบาตมุสลิม องค์กรศาสนาที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2547 ในประเทศโปแลนด์ และเป็นมัสยิดลำดับที่ 5 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากทางรัฐบาล
ชาวมุสลิมในประเทศโปแลนด์มีจำนวนประมาณ 15,000-30,000 คน โดยส่วนใหญ่อพยพมาจากเชชเนีย ขณะที่ประชากรมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมด 38 ล้านคนของประเทศแห่งนี้ ประกาศว่าตนเองเป็นชาวคาธอลิก
"สถานที่เช่นนี้มักจะเป็นแหล่งศูนย์ รวมของพวกหัวรุนแรง" ผู้ประท้วงที่ไม่ยอดเปิดเผยนามกล่าว และเขาได้ถือป้ายประท้วงที่แสดงรูปเปรียบเทียบว่าหอคอยบน ยอดมัสยิดมีลักษณะเป็นดังขีปนาวุธ คล้ายคลึงกับรูปแบบการรณรงค์ให้ชาวสวิสลงประชามติต่อต้านการสร้างมัสยิดแห่ง ใหม่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปีก่อน
ขณะเดียวกัน ผู้ประท้วงรายอื่นก็พากันตะโกนว่า "อย่าซ้ำรอยความผิดพลาดของทวีปยุโรป" "ความอดทนอดกลั้นอันมืดบอดได้สังหารสามัญสำนึกของผู้คน" รวมทั้งมีการเรียกร้องให้ประเทศมุสลิมเคารพในสิทธิสตรีและเสรีภาพทางศาสนา
"ดูสิ อะไรเกิดขึ้นในยุโรป ผมไม่ต้องการให้ลูกสาวถูกบีบบังครับให้ต้องใส่ชุดบุรกา (ซึ่งเป็นชุดแต่งกายที่ปิดบังอวัยวะทุกส่วนของสตรี) ในอนาคต" ชายที่เข้าร่วมประท้วงคนหนึ่ง กล่าวในประเด็นซึ่ง เป็นที่ถกเถียงมาอย่างต่อเนื่องในประเทศฝรั่งเศส ขณะที่คณะกรรมาธิการของรัฐสภาเบลเยี่ยมเพิ่งจะลงมติในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อห้ามการใส่ชุดบุรกาและนิกอบ (ที่ปิดบังอวัยวะทุกส่วนของสตรียกเว้นดวงตา) ในสถานที่สาธารณะ
"ฉันอาศัยอยู่ในเมืองแห่งหนึ่งของ โปแลนด์ ซึ่งโบสถ์คาธอลิก, โบสถ์ยิว และมัสยิด สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าฉันเดินทางไปซาอุดิอาระเบีย เสรีภาพทางศาสนาของฉันก็จะหมดสิ้นลงในทันที" สตรีที่เข้าร่วมประท้วงผู้หนึ่งกล่าว
นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงการล่มสลายของระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ประเทศโปแลนด์มีลักษณะเป็นสังคมหพุวัฒนธรรม ที่คนหลากหลายเชื้อชาติและศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ เมื่อมีชาวมุสลิมฐานะยากจนจากเชชเนียอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชุมชน "แบบปิด" ของกลุ่มประชากรท้องถิ่นที่ใจแคบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ปัญหาความขัดแย้งจึงเริ่มต้นก่อตัว พร้อมกับที่เริ่มมีนายทุนชนชั้นกลางชาวมุสลิมเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน ประเทศมากยิ่งขึ้นในระยะหลัง
ซาเมียร์ อิสมาอิล หัวหน้ากลุ่มสันนิบาตมุสลิม ซึ่งเป็นชาวคูเวตที่เดินทางมาศึกษาต่อและประกอบอาชีพเป็นกุมารแพทย์ในประเทศ โปแลนด์ และปัจจุบันได้รับสัญชาติโปแลนด์ เนื่องจากมีภรรยาเป็นประชากรท้องถิ่นและมีลูก ๆ อีก 4 คน แสดงความคิดเห็นต่อการประท้วงว่า "ไม่มี เหตุผลใดที่ทางสันนิบาตจะยุติการสร้างมัสยิดดังกล่าว"
นอกจากนี้ อิสมาอิลยังมองโลกในแง่ดีว่า กระแสหวาดกลัวอิสลามไม่น่าจะเดินทางมาถึงโปแลนด์ เพราะหลังจากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ก็มีคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามติดต่อมายังเขา เพราะต้องการจะบริจาคเงินสมทบทุนในการก่อสร้างมัสยิดของสันนิบาตที่กำลังถูก ต่อต้านอยู่ในปัจจุบัน