มุมมองใหม่บุกตลาดฮาลาลของมาเลเซีย  | มาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านทางทิศใต้ของไทย เป็นประเทศที่มีประชากรเป็นชาวมุสลิมมากกว่า 60% ทั้งยังเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าฮาลาลรายใหญ่ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยในปีที่ผ่านมา (ปี 2552) มาเลเซียมียอดการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลคิดเป็นมูลค่าถึง 826.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 27,200 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาล หลายคนอาจจะนึกถึงสินค้าอาหารที่มีกรรมวิธีการผลิตตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม แต่ความจริงแล้วผลิตภัณฑ์ฮาลาลครอบคลุมสินค้าหลากชนิด รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนงานบริการ เช่น ธนาคารและการโรงแรม จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลในระดับโลก ณ ปัจจุบันนี้ จึงอยู่ที่ระดับกว่า 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนับวันมีแต่จะขยายตัวสูงขึ้น |
"โอกาสในการส่งออกสินค้าฮาลาลสู่เวทีโลก" หรือ Global Exports Opportunities for Halal Sector เป็นหัวข้อการสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการส่งออกมาเลเซีย (Matrade) ที่โรงแรมเรดิสันเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาในกรอบใหญ่ของกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยเรื่อง "เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ:มุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ทั้งนี้เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีของอาเซียนซึ่งมุ่งหน้าไปสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจเดียวกันนั้น ได้เอื้อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนของประเทศสมาชิกเพิ่มพูนการค้าและการลงทุน ระหว่างกันภายใต้เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี เช่นการลดภาษีศุลกากรสินค้าส่วนใหญ่ลงสู่ระดับ 0% ทำให้แนวโน้มความร่วมมือของภาคเอกชนอาเซียนทั้งในลักษณะของการเข้าไปตั้ง บริษัทร่วมทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนรายอื่นๆ หรือการเอาต์ซอร์ซ (outsource) การผลิตหรือบริการด้าน ต่างๆ เช่นการทำการตลาด นอกประเทศของตนเอง มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ฟาราห์ คารุดดิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ กรมส่งเสริมการส่งออกมาเลเซีย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมฮาลาลเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การส่งออกที่มาเลเซียให้ความ สำคัญเป็นอย่างมาก และมาเลเซียเองก็มีแนวความคิดที่จะแสวงหาความร่วมมือกับไทยเพิ่มขึ้นในด้าน นี้เพื่อจะสามารถพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมฮาลาลโดยต่างฝ่ายต่างได้ ประโยชน์จากความร่วมมือ (collaborate to win) ยกตัวอย่างเช่น ทั้งมาเลเซียและไทยสามารถเพิ่มปริมาณการค้าและเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ในตลาด สินค้าฮาลาลโลก โดยการผนวกรวมจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ไทยซึ่งมีความสามารถในการผลิตและมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านวัตถุดิบ สามารถจำหน่ายทั้งสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบเพื่อการผลิต เช่น สัตว์ปีก ปศุสัตว์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ให้กับมาเลเซียเพื่ออาศัยความเชี่ยวชาญในการทำตลาดและกระจายสินค้าผ่านระบบ โล จิสติกส์ฮาลาลของมาเลเซียไปยังตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงในแง่วัตถุดิบเพื่อการผลิตผ่าน การทำสัญญาคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น จากการที่มาเลเซียมีท่าเรือฮาลาลเพื่อการส่งออกสินค้าฮาลาลโดยเฉพาะ จึงสามารถเป็นจุดกระจายสินค้าฮาลาลจากไทยซึ่งปัจจุบันยังขาดแคลนท่าเรือฮาลา ลภายในประเทศ "เราสามารถเปลี่ยนบทบาทจากคู่แข่งมาเป็นคู่ค้าที่ต่างก็ได้ประโยชน์ร่วม กัน" เกียรติไพศาล หมื่นสีดา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กรมส่งเสริมการส่งออกมาเลเซีย กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" และเปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดสินค้าฮาลาลมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งไทยและมาเลเซียสามารถร่วมมือในหลายลักษณะดังกล่าวมาข้างต้น "ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีเพียงอาหาร แต่ความจริงมันครอบคลุมสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว รองเท้า แว่นตา ไปจนถึงเครื่องเวชภัณฑ์ และบริการด้านต่างๆ นอกจากนี้ ผู้บริโภคสินค้าฮาลาลไม่ได้จำกัดวงเฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้น ผู้บริโภคทั่วไปก็เป็นกลุ่มลูกค้าผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพราะปัจจุบันสินค้าหรือบริการที่ได้รับตรารับรองความเป็นฮาลาลนั้นหมายความ ว่า นั่นคือสินค้าที่สะอาดและมีประโยชน์อย่างสูงสุดต่อร่างกาย" ผู้บริหารของ Matrade มองแนวโน้มข้างหน้าว่า ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งกำลังขับเคลื่อนสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจเดียวกัน ทำให้แต่ละประเทศไม่อาจเติบโตอย่างโดดเดี่ยว แต่จำเป็นต้องจับมือเป็นพันธมิตรเพื่อเติบโตไปด้วยกัน และเปลี่ยนสถานะจากคู่แข่งขันเป็นคู่ค้าจะดีกว่า ซึ่งหากผู้ประกอบการของไทยยังสงสัยว่าจะร่วมมือกับมาเลเซียเพื่อบุกตลาด สินค้าฮาลาลได้อย่างไร เขาแนะนำให้ไปร่วมงานแสดงสินค้าฮาลาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ภายใต้ชื่องาน "มิฮาส" หรือ International Halal Showcase (MIHAS) ครั้งที่7 ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายนศกนี้ เพราะงานนี้ไม่เพียงมีผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลจากทั่วทุก มุมโลกมาร่วมนำเสนอสินค้า แต่ยังเป็นเวทีที่ผู้ซื้อจะมาพบกับผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ ผู้ให้บริการ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ หากต้องการแนวทางเพื่อบุกตลาดหรือหาพันธมิตรธุรกิจ งานนี้ถือเป็นโอกาสเริ่มต้นที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ตลาดใหญ่สินค้าฮาลาล ++ อินโดนีเซีย 90% ของประชากร 224 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม และเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงเป็นลำดับที่ 13 ในกลุ่มประเทศมุสลิม สินค้าที่เป็นที่ต้องการได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้ อาหารแช่แข็ง คุกกี้ ลูกกวาด อาหารทานเล่น เนยเทียม น้ำมันประกอบอาหาร และเครื่องดื่ม ++ จีน ประชากรจีน 40 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม มีถิ่นฐานอยู่ในเมืองซินเจียง หนิงเซี่ย และซีอันเป็นส่วนใหญ่ สินค้าฮาลาลซึ่งเป็นที่สนใจ ได้แก่ น้ำมันประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์จากโกโก้และช็อกโกแลต อาหารแช่แข็ง คุกกี้ ลูกกวาด อาหารทานเล่น เนยเทียมและเนยขาว (shortening) และเครื่องดื่ม ++ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีประชากร 4.6 ล้านคนและ 90% เป็นชาวมุสลิม เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อเป็นลำดับที่ 9 ในกลุ่มประเทศมุสลิม สินค้าฮาลาลที่ต้องการ ได้แก่ อาหารทานเล่น คุกกี้ ลูกกวาด อาหารแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เนยเทียม เครื่องดื่ม เครื่องสำอางและยา ++ อิหร่าน 98% ของประชากร 69 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม และมีกำลังซื้อเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศมุสลิม อิหร่านต้องการอาหารแช่แข็ง อาหารทานเล่น เนยเทียม คุกกี้และลูกกวาด เนยเทียมและเนยขาว และเครื่องดื่ม ++ สหราชอาณาจักร มีชาวมุสลิมประมาณ 2 ล้านคนอยู่ในสหราชอาณาจักรและเวลส์ สินค้าที่ได้รับความสนใจได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารทานเล่น โกโก้และช็อกโกแลต ขนม คุกกี้และลูกกวาด อาหารมังสวิรัติ ส่วนผสมในการทำอาหารจากธรรมชาติ อาหารฮาลาลจากทั้งในท้องถิ่นและต่างประเทศที่มาจากธรรมชาติและมีความปลอดภัย ++ ฝรั่งเศส ประชากรประมาณ 4.1 ล้านจาก 61 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม สินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการ คือ อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง อาหารทานเล่น คุกกี้และลูกกวาด เนยเทียม น้ำมันประกอบอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารฮาลาลจากเอเชีย จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,518 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2553 |