|
คณะกรรมาธิการศาสนาฯ จัดสัมมนาร่าง พ.ร.บ. การใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการพิจารณาคดี |
|
|
คณะกรรมาธิการศาสนาฯ จัดสัมมนาร่าง พ.ร.บ. การใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการพิจารณาคดี คณะ กรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาร่าง พระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการพิจารณาคดี ที่จังหวัดสตูล วันนี้ ( 22 ก.พ.53) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสตูล คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนาร่างพระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการ พิจารณาคดี พ.ศ...มีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิด เพื่อเผยแพร่หลักการ เหตุผล และสาระสำคัญ ของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่สนใจได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องเป็นไปในแนวทางเดียว อันจะนำไปสู่การยอมรับของสังคม และสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในภาคใต้ ดาโต๊ะยุติธรรม ผู้นำศาสนา และประชาชนผู้สนใจ จำนวน 200 คน นายฮอชาลี ม่าเหร็ม โฆษกคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าประเทศไทยมีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ตามความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาภาย ใต้บัญญัติของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งมีหลักชารีอะห์หรือหลักกฏหมายอิสลาม ว่าด้วยครอบครัวและมรดกเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่ง แม้ว่าประเทศไทยได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายอิสลามในเขต จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวได้รับการยกเว้น มิต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและ มรดก อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายอิสลามฉบับดังกล่าว ยังคงขาดเนื้อหาสาระที่สำคัญตามหลักกฎหมายอิสลามอีกหลายประการ ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาในภายหลัง คณะอนุกรรมาธิการกิจการศาสนาอิสลาม ในคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ขึ้นใหม่ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลามตามหลักการทางศาสนา พร้อมขยายเขตอำนาจของกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับประชาชนชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทยมุสลิมทุกคนอย่างแท้จริง |
|
|
เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :- |
|
|
|
|
|
|