หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่มุสลิมไทย โพสต์
 
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
“หมอพรทิพย์”กับวิกฤติชายแดนใต้พบปัญหาใหม่น่าแก้ไขกว่าจีที 200

คมชัดลึก : ท่ามกลางกระแสโต้เถียงกันเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ซึ่งดูจะยังหาจุดจบไม่ได้ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เรียกร้องให้สังคมไทยหันมามองปัญหาใหม่ที่ชายแดนใต้ ซึ่งอาจน่าตกใจกว่า จีที 200

“เราใช้เครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์ ทำให้เรารู้ว่าการนำคนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หลายๆ ครั้งคนเหล่านั้นเป็นเพียงเหยื่อ อาจจะเป็นคนที่หุนหันพลันแล่น มีความรู้น้อย กลายเป็นเครื่องมือของคนที่สั่งการจากข้างบน คนเหล่านี้ต่างหากที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่คนสั่งการยังอยู่สบาย”

ปัญหาที่หมอพรทิพย์พบจากที่ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายปีก็คือ แนวร่วมก่อความไม่สงบจำนวนมากในบัญชีของรัฐ แท้ที่จริงแล้วพวกเขาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐด้วยความจำใจ

“หลายๆ กรณีเราพบว่ากลุ่มก่อความไม่สงบใช้บ้านของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นสถานที่ วางแผน เจ้าของบ้านก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่สุดท้ายเจ้าของบ้านกลับกลายเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีแนวร่วม เมื่อใช้วิทยาศาสตร์เข้าไปพิสูจน์ยิ่งชัด เพราะไปตรวจหาร่องรอยสารระเบิดในบ้านก็เจอ เนื่องจากบ้านหลังนี้ถูกใช้ทำระเบิด ทั้งๆ ที่เจ้าของบ้านไม่ได้เต็มใจ”

 หมอพรทิพย์ ย้ำว่า ทุกฝ่ายต้องหันมายอมรับว่า ฝ่ายขบวนการสร้างแนวร่วมด้วยวิธีนี้ ฉะนั้นการส่งตัวผู้กระทำผิดเข้ากระบวนการยุติธรรม หรือใช้วิธีปราบปรามอย่างเด็ดขาด อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกทั้งหมด

 “ถ้าคนคนหนึ่งเคยประกอบระเบิดแล้วเข้ามอบตัว ทำให้เรารู้ขบวนการของเขา แต่คนนั้นก็ยังมีความผิด ถูกดำเนินคดีด้วย แล้วใครจะหันมาช่วยรัฐ ตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันขบคิด โดยเฉพาะนักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานอยู่ในพื้นที่จริงๆ”

 ขณะที่อีกด้านหนึ่ง การทำงานของกลุ่มบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้าน หลายๆ ครั้งกลับกลายเป็นซ้ำเติม

 “หลายคดีเรามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัด แต่กลับมีทนายหรือองค์กรในพื้นที่ไปยุให้ผู้ต้องหาต่อสู้ ไม่ให้รับสารภาพ สุดท้ายศาลก็ลงโทษในอัตราสูง ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา เพราะคนเหล่านี้เป็นเพียงเหยื่อ แต่แน่นอนว่าถ้าเขาไม่ผิดจริงๆ หมอก็สนับสนุนให้สู้สุดชีวิต”

 แนวคิดที่ พญ.คุณหญิงพรทิพย์เสนอ ดูจะสอดรับกับแนวทางการนำมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือ “พ.ร.บ.ความมั่นคง” มาใช้ เพื่อเบี่ยงคดีบางคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ
สาระของมาตรา 21 คือการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่กลับใจเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบ สวน หรือเป็นบุคคลที่หลงผิด กระทำความผิดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พนักงานสอบสวนสามารถทำความเห็นเสนอไปยัง ผอ.รมน.เพื่อพิจารณา หาก ผอ.รมน.เห็นชอบด้วย ก็ให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลผู้นั้นเข้ารับการอบรมเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือนด้วยความยินยอม และจะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา

อย่างไรก็ดี หมอพรทิพย์ ย้ำว่า แนวทางที่ควรดำเนินการตามกรอบของมาตรา 21 ต้องระวังเรื่องการใช้เงิน

“ปัจจุบันหลายหน่วยก็ใช้งบประมาณไปจ้างฝ่ายก่อความไม่สงบบางระดับเป็นสาย ข่าวอยู่แล้ว จึงอยากให้คิดในมุมที่กว้างและรอบด้านกว่านี้ โดยดึงทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อหาพิมพ์เขียวที่ดีที่สุด”

 อีกด้านหนึ่งคือปัญหาเรื่อง จีที 200 หมอพรทิพย์ ยืนยันว่า อย่างไรเสียก็จะไม่เลิกใช้ แม้สุดท้ายจะพิสูจน์ว่าไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ก็ไม่ถือว่าหน้าแตก

"หมอไม่หน้าแตกหรอก เรายึดตามการปฏิบัติ หมอเองก็ไม่เคยใช้เอง ไม่เคยถือ เพราะบางทีใจเรามุ่งมั่นมากไป ไม่อยากทำอะไรให้ผิดพลาด ทุกวันนี้ก็ให้ลูกน้องที่มีพรสวรรค์ใช้อยู่ แล้วก็แม่นยำทุกครั้ง นานมาแล้วทุกคนบอกว่าโลกแบน ใครบอกว่าโลกกลมต้องถูกประหาร สิ่งที่มองไม่เห็น บางครั้งไม่ได้หมายความว่าไม่มีอยู่จริง”

อีกประการหนึ่งที่ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ อยากทำความเข้าใจคือ เรื่องงบประมาณจัดซื้อ ซึ่งไม่ใช่ในแง่ของความโปร่งใสหรือไม่ แต่เป็นในแง่ของเม็ดเงินที่รัฐมอบให้

ถือเป็นอีกหนึ่งความเห็นท่ามกลางวาระร้อนว่าด้วย จีที 200!

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185