นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดสงขลาได้ประสานขอสนับสนุนเครื่องจักรกลจากส่วนกลาง โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5เครื่องเพื่อใช้สูบและระบายน้ำในพื้นที่สำคัญ 5จุด ประกอบด้วย เทศบาลนครหาดใหญ่ 2เครื่อง เขตเทศบาลเมืองควนลัง1เครื่อง เขตเทศบาลเมืองคอหงส์1เครื่อง และเขตเทศบาลเมืองคลองแหอีก1เครื่อง
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขนส่งลงมาในพื้นที่อย่างเร่งด่วนแล้ว เพื่อให้ทันรับมือสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญที่เพิ่มระดับอย่างต่อ เนื่อง ส่วนในจุดอื่นๆขณะนี้ได้เร่งระดมกำลังคน และเจ้าหน้าที่รวมทั้งเครื่องจักรและเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่กระจาย ออกให้ความ ช่วยเหลือประชาขนในพื้นที่ประสบภัยเป็นการด่วนแล้ว
ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือนั้นผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น ได้แจ้งกำชับนายอำเภอทั้ง16 อำเภอสงขลา และหน่วยงานส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วมให้ อนุมัติงบประมาณช่วยเหลือเร่งด่วนไปได้ทันที ทั้งนี้หากงบประมาณไม่เพียงพอขอให้แจ้งประสานมายังจังหวัดได้ทันทีเพื่อให้ ความช่วยเหลือได้ทันความต้องการ นายวิญญู กล่าว
รายงานข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเนินเขา เขตเทศบาลเมืองควนลัง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากน้ำทะลักท่วมเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียว ทำให้ประชาชนต้องติดอยู่ภายในบ้านไม่สามารถเดินทางออกมาได้
ล่าสุดทางเทศบาลเมืองควนลังได้ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลเข้าไป เปิดเส้นทางใหม่ที่อยู่ด้านหลังหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถเดินทางอ้อมออกไปนอกพื้นที่ได้ชั่วคราวเพื่อเป็นการช่วยเหลือ ประชาชนเฉพาะหน้า เนื่องจากประชาชนสวนใหญ่ไม่ได้เตรียมสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค บริโภคไว้ล่วงหน้า เพราะเชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วมพื้นที่
นราฯประกาศ13อำเภอพื้นที่ภัยพิบัติต่อเนื่อง
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอในจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติต่อเนื่อง โดยในพื้นที่มีผู้ประสบภัยครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอ รวม 61 ตำบล 283 หมู่บ้าน 16 ชุมชน ผู้ประสบภัย รวม 18,237 ครัวเรือน 61,833 คน อพยพราษฎรไปพื้นที่ปลอดภัย 2,876 คน แยกเป็น อ.จะแนะ 931 คน อ.ระแงะ 147 คน อ.ยี่งอ 3 คน อ.สุคิริน 1,600 คน อ.สุไหงโก-ลก 195 คน
ส่วนใหญ่อพยพไปอยู่อาศัยบ้านญาติและมีบางส่วนอพยพไปยังสถานที่ที่ราชการจัดให้ มีบ้านเรือนเสียหายจากน้ำท่วมและพายุฝน 17 หลังคาเรือนแยกเป็น อ.เมือง 15 หลังและ อ.สุคิริน 2 หลัง พื้นที่การเกษตร 2,200 ไร่,บ่อปลา 80 บ่อ ถนนน้ำท่วมขังและดินทับถมเป็นบางจุด จำนวน 103 สาย สะพานและคอสะพาน ชำรุดจำนวน 16 แห่ง ท่อระบายน้ำ จำนวน 12 แห่ง
แต่ถนนสายหลักราษฎรสามารถสัญจรไปมาได้ทุกเส้นทาง น้ำท่วมบริเวณ มัสยิด 7 แห่ง แยกเป็นอำเภอแว้ง 2 แห่ง อ.ยี่งอ 2 แห่ง และอ.สุคิริน 2 แห่ง โรงเรียนปิดการเรียนการสอน 18 แห่ง แยกเป็น อ.ระแงะ 4 แห่ง อ.เจาะไอร้อง 1 แห่ง อ.จะแนะ 1 แห่ง อ.เมือง 4 แห่ง อ.สุไหงโก-ลก 5 แห่ง อ.สุไหงปาดี 1 แห่ง อ.แว้ง 1 แห่ง และ อ.ตากใบ 1 แห่ง น้ำท่วมสถานที่ราชการจำนวน 2 แห่งในพื้นที่ อ.แว้ง โดยขณะนี้สามารถรวมมูลค่าความเสียหายแล้วประมาณ 44,711,040 บาท
สำหรับการช่วยเหลือในเบื้องต้นทางศูนย์ฯได้ทำการแจกจ่าย เครื่องอุปโภค บริโภค ทั้งจังหวัด จำนวน 14,075 ชุด น้ำดื่ม 7 00 ขวด,ผ้าขาวม้า 400 ผืน, ผ้าถุง/ผ้าโสร่ง จำนวน 400 ผืน , เรือท้องแบน 12 ลำ และในขณะนี้ยังคงมีการออกให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ส.ส.พัทลุง แจงข้าวสารช่วยน้ำท่วมได้มาตรฐาน
นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการพบข้าวสารที่ทางกระทรวงพาณิชย์แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตจังหวัดพัทลุงกว่า 30 ถุงเน่าเสีย ว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะข้าวสารที่ถูกจัดส่งมาจากระทรวงพาณิชย์ที่ให้ ส.ส.ในพื้นที่นำมาแจกจ่ายชาวบ้านผู้ประสบภัยในจังหวัดพัทลุงมีทั้งหมด 6,000 ถุง ซึ่งเป็นข้าวสารที่มีคุณภาพ ไม่มีการเน่าเสีย แต่เนื่องจากในวันที่ 4 พ.ย.ที่มีการนำข้าวมาแจกจ่ายที่จังหวัดพัทลุง มีฝนตกหนักมาก
ประกอบกับถุงข้าวสารมีการเจาะรูขนาดเล็ก เพื่อระบายอากาศ และเพื่อป้องกันถุงแตกจากการเรียงทับซ้อนระหว่างขนส่ง จึงอาจเป็นได้ว่ามีฝนตกและมีความชื้นเข้าไปในถุงข้าวสารดังกล่าว ซึ่งข้าวสารที่พบว่ามีการขึ้นรา และเน่าเสียมีเพียง 37 ถุงจากทั้งหมด และเป็นส่วนที่ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลเขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ได้พบเห็น และมีการกักเอาไว้ โดยไม่ได้แจกจ่ายให้ชาวบ้าน รวมทั้งหมด 37 ถุง โดยทางผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งเจ้าหน้าที่ทางจังหวัดเพื่อส่งคืน และบังเอิญมีผู้สื่อข่าวในพื้นที่พบเห็นจึงได้ทำข่าวออกมา ตนยืนยันว่าข้าวทั้งหมดที่ส่งมาช่วยผู้ประสบภัยเป็นข้าวที่มีคุณภาพ และไม่มีการแจกของช่วยเหลือชาวบ้านที่ด้อยคุณภาพแน่นอน
ปัตตานีท่วมรอบสองชาวบ้านอพยพอยู่ที่สูง
ผู้สื่อข่าวปัตตานีว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักตลอด 4 วันที่ผ่านมา ประกอบกับน้ำคอนบนจากจังหวัดยะลา และน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปัตตานีสูงขึ้นได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ราบ ลุ่ม โดยเฉพาะ ม.8 บ้านบริดอ ต.บาราเฮาะ และ ม.2 บ้านจางา ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี น้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ท่วมบ้านเรือนราษฏรทั้งหมู่บ้าน ประมาณ 1,000 ครัวเรือนเดือดร้อน
ชาว บ้านได้นำสิ่งของรวมทั้งเอายานพาหนะ และสัตว์เลี้ยงขึ้นไว้ที่สูง รถไม่สามารถผ่านได้ ชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางไปมาระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทุก ปี โดยเฉพาะในปีนี้ ท่วมเป็นระลอกที่ 2 แล้ว ในรอบ1 เดือน ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเดือดร้อนหนักเข้าไปอีก ส่วนเด็กๆเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เพราะโรงเรียนต้องปิดโดยปริยาย มีโรงเรียนปิดแล้ว 4 โรง
นอกจากนั้นน้ำท่วมใน พื้นที่ อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอปะนาเระ ประมาณ 2,000 ครัวเรือนเดือดร้อน ซึ่งเป้นพื้นที่ราบลุ่บ รวมทั้งพื้นที่นา พื้นที่เกษตร โดยเฉพาะ ปลูกอ้อย มันสัปะหลัง ข้าวโพด และผักพื้นบ้าน ที่เป็นอาชีพหลักที่ต้องจมและเสียหายหมด สัตว์เลี้ยงที่ขนทันตั้งไว้บนถนน ที่ไม่ทัน ตายไปหลายตัว ขณะรายงานข่าวสภาพระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานี สูงขี้นเรื่อยๆ ประชาชนเริ่มอพยพไปอยู่ที่สูงแล้ว
ขณะที่ องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี พลโทฐิติฐาน สุขศรี รองประธานที่ปรึกษากองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ นำถุงยังชีพพระราชทานจำนวน 1 , 000 ถุง มอบให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม อ.เมือง และ อ.หนองจิก โดยมีนายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจร่วมรับมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อนำส่งมอบให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงในแต่ละพื้นที่
สรุปน้ำท่วมทั้ง 2 ระลอก ปรากฏว่า จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 9 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 41 ตำบล 164 หมู่บ้าน ผู้ประสบภัย 10 , 205 ครัวเรือน จำนวน 34 , 126 คน บ้านเรือนเสียหาย 91 หลัง ถนนชนบทเสียหาย 157 สาย สะพานเสียหาย 6 แห่ง โรงเรียนถูกน้ำท่วม 5 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหาย 32 , 774 ไร่ ด้านประมงบ่อปลา ปลาในกระชัง สัตว์เลี้ยงราษฎร รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 69 , 145 , 297 บาท