หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่มุสลิมไทย โพสต์
 
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
รถขโมยจากมาเลเซีย ล้นโกดังของกลาง กรมศุลกากร มึนตึบ ไม่รู้คืนเจ้าของมาเลย์ ได้หรือไม่ ?
 แต่ละปี กรมศุลกากรได้เก็บรักษา   รถยนต์ของกลางประเภท   ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงานศุลกากรและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจ  ยึดไว้ในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรตามมาตรา 27    แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร   พ.ศ.   2469
    ทั้งนี้ ได้มีการแยกกอง รถยนต์ ที่ยึดได้ ออกเป็น 2 กองคือ กองแรกเป็น คดีที่มีผู้ต้องหากระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
   กองที่สองเป็น คดีที่ไม่มีผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึดของกลางไว้
    ปัญหา ความยุ่งยาก ที่เกิดขึ้น คือ กรณีใดสามารถคืนรถยนต์ของกลางได้ กรณีใดไม่อาจคืนรถยนต์ของกลางได้
    ก่อนหน้านี้  กรมศุลกากร ได้หารือ  คณะกรรมการกฤษฎีกา   โดยมีผู้แทนกระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญา
และกฎหมาย) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  เป็นผู้ชี้แจง
      ข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ความเห็นตามข้อหารือของกรมศุลกากร  ดังนี้
    ประเด็นที่หนึ่ง รถยนต์ที่ถูกโจรกรรมในต่างประเทศแล้วมีผู้ลักลอบนำเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยเจ้าของไม่มีส่วนรู้เห็นหรือร่วมกระทำผิดด้วย กรมศุลกากรจะสั่งคืนรถยนต์
ของกลางดังกล่าวให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิได้หรือไม่  ?
   ประเด็นที่สอง รถยนต์ที่ถูกโจรกรรมในต่างประเทศแล้วมีผู้ลักลอบนำเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยเจ้าของไม่มีส่วนรู้เห็นหรือร่วมกระทำผิดด้วย ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ยึดไว้
ตามกฎหมายศุลกากร กงสุลมาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเอารถยนต์  ดังกล่าวคืนแทนเจ้าของหรือผู้มีสิทธิได้หรือไม่
   ล่าสุด  คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3 ) ได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว   มีความเห็นดังนี้
   ประเด็นที่หนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า รถยนต์ของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ยึดไว้ เป็นรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมในต่างประเทศแล้วมีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเจ้าของ
ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือร่วมกระทำผิดด้วย จึงเป็นกรณีที่เจ้าของได้ถูกกระทำละเมิดมาแต่ต้น 
   เจ้าของหรือผู้มีสิทธิย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ของกลางที่ถูกลักไปนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา   1336  ประกอบกับมาตรา  1327 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
   กรมศุลกากรจึงมีอำนาจสั่งคืนรถยนต์ของกลางดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีเหตุที่จะยึดหน่วงไว้   ตามกฎหมาย
    ประเด็นที่สอง ตามมาตรา 33   แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและ  ความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541   ประกอบกับหลักเกณฑ์ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วย
ความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ. 1963  ข้อ 5 (ก) และ (ฌ)   ได้กำหนดให้กงสุลมีหน้าที่คุ้มครอง ผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งบุคคลธรรมดาและองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ในรัฐผู้รับ และเป็นตัวแทนหรือจัดให้มีผู้แทนที่เหมาะสมสำหรับคนชาติของรัฐผู้ส่งในศาลและหน่วยงานอื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนชาติเหล่านี้ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับในกรณีที่คนชาติเหล่านี้ไม่สามารถปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนในเวลาอันเหมาะสมได้  เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด โดยขึ้นอยู่กับหลักปฏิบัติและวิธีดำ เนินการที่ใช้อยู่ในรัฐผู้รับ
     ดังนั้น กรณีที่กงสุลมาเลเซียประจำจังหวัดสงขลาได้ยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมในประเทศมาเลเซียและมีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยแทนเจ้าของหรือผู้มีสิทธิซึ่งเป็นชาวมาเลเซียจึงสามารถกระทำได้ แต่การคืนรถยนต์ของกลางดังกล่าวเจ้าพนักงานศุลกากรสมควรเรียกให้กงสุลมาเลเซียประจำจังหวัดสงขลาแสดงใบมอบอำนาจจากเจ้าของ  หรือผู้มีสิทธิในรถยนต์ตามมาตรา 1085 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร ฯด้วย
 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185