หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่มุสลิมไทย โพสต์
 
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
Raja Alem และ Mohammad Achaari อาหรับบุ๊คเกอร์ปี 2011

Raja Alem และ Mohammad Achaari อาหรับบุ๊คเกอร์ปี 2011

นับตั้งแต่รางวัล International Prize for Arabic Fiction 2011 หรือรางวัลอาหรับบุ๊คเกอร์ เป็นครั้งแรกในปี 2007

ก็ยังไม่มีปีใดที่จะสร้างสีสันบนเวทีรางวัลนี้ได้เท่ากับปี 2011  นอกจากจะเป็นปีแรกที่มีนักเขียนรับรางวัลร่วมกันถึงสองคนพร้อมกันแล้ว  ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่นักเขียนหญิงได้รับรางวัล

นวนิยายเรื่อง  The Doves’ Necklace  ผลงานของ  ราชา  อาเล็ม  (Raja Alem)  และ The Arch and the Butterfly  ผลงานของ  โมฮัมเหม็ด  อาชารี  (Mohammed  Achaari)  คือสองผลงานนวนิยายที่ได้รับรางวัลอาหรับประจำปีนี้  พร้อมเงินรางวัล  50,000  ดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งทั้งสองนักเขียนต้องแบ่งกันคนละครึ่ง 

นวนิยายทั้งสองเรื่องต่างมีการนำเสนอเรื่องในประเด็นที่เป็นเรื่องอ่อนไหวของสังคมอาหรับ   The Doves’ Necklace  พาไปสำรวจเรื่องราวชีวิตที่ถูกปิดเป็นความลับของนครเมกกะดินแดนศักดิ์สิทธิ์  ผลงานเล่มนี้ฉายให้เห็นภาพของโลกแห่งอาชญากรรม  การฉ้อราษฎร์บังหลวง  โสเภณี  และการหากินบนหลังแรงงานของพวกมาเฟีย  ซึ่งเป็นผู้รับเหมาจ้างคนงานเหล่านี้มาทำงานก่อสร้างตามพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในเมือ

ราชาเป็นนักเขียนหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้  เงินรางวัลได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิบุ๊คเกอร์  และมูลนิธิเอมิเรตส์  ส่วนงานเขียนของโมฮัมเหม็ดนั้น  เป็นเรื่องที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบของลัทธิก่อการร้าย  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในตะวันตกเท่านั้น แต่ยังในครอบครัวชาวมุสลิม  ซึ่งพวกเขาเคยเข้าใจว่า  ลูกชายกำลังศึกษาอยู่ที่กรุงปารีส  เสียชีวิตลงเช่นเดียวกับผู้ที่ถูกทารุณในอัฟกานิสถาน  โดยตัวเดินเรื่องหลักคือพ่อของชายหนุ่มที่เป็นนักศึกษา  และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับภรรยา 

นักเขียนผู้ได้รับรางวัลทั้งสองคน  ได้รับการประกาศชื่อโดยประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล  ซึ่งเป็นนักกวีและนักเขียนนวนิยายชาวอิรัก  Fadhil Al-Azzawi  ที่อาบูดาบี  ประธานกล่าวถึงผลงานที่ได้รับรางวัลว่า  “คณะกรรมการตัดสินมอบรางวัลให้กับนวนิยายทั้งสองเรื่อง  ซึ่งได้แก่  The Arch and the Butterfly  โดย  โมฮัมเหม็ด  อาชารี  และ  The Doves’ Necklace  โดย  ราชา  อาเล็ม  ผลงานนวนิยายทั้งสองเล่มนี้ดีมาก  และเปี่ยมคุณภาพด้านวรรณกรรม  นอกจากนี้ยังถ่ายทอดงานเขียนออกมา  เชื่อมโยงกับปัญหาและเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคมตะวันออกกลาง  ปัญหาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบรรดาผู้ที่สั่งห้ามผู้คนไม่ให้มีปากมีเสียง  จะเห็นได้ว่า  ปัญหาตรงนี้สะท้อนให้เห็นในการประท้วงที่แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มประเทศอาหรับ  พวกเขาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง”

ผู้ชนะเลิศทั้งสองคนในปีนี้  ได้รับการคัดเลือกมาจากผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด  6  เรื่อง  คณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ  และผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบมานั้น  ตัดสินในจากคุณภาพทางด้านวรรณศิลป์  โดยไม่เลือกสัญชาติ  ประเทศ  ศาสนา  เพศ  และอายุ  ผลงานทั้งสองเล่ม  หลังจากได้รับรางวัล  จะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ  เพื่อให้ผลงานได้มียอดขายจำนวนมากขึ้น  รวมถึงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติต่อไป

สำหรับผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง  6  เรื่อง ประกอบด้วย  The Doves’ Necklace  ผลงานของ  ราชา  อาเล็ม  (Raja Alem)  ,  The Arch and the Butterfly  ผลงานของ  โมฮัมเหม็ด  อาชารี  (Mohammed  Achaari),  An Oriental Dance  ผลงานของ  Khaled al-Berry  นักเขียนชาวอียิปต์,  Brooklyn  Heights  ผลงานของ  Miral  al-Tahawy  นักเขียนชาวอียิปต์,  My Tormentor  ผลงานของ  Bensalem Himmich  นักเขียนชาวโมร็อกโก  และ  Larvae  Hunter  ผลงานของ  Amir Taj al-sir  นักเขียนชาวซูดาน

โจนาธาน  เทย์เลอร์  หนึ่งในกรรมการ  แสดงความเห็นว่า  “งานเขียนของโลกอาหรับมีความน่าสนใจ  และสะท้อนให้เห็นถึงโลกอาหรับที่ไม่มีใครพูดถึง  และนี่เป็นครั้งแรกที่คณะกรรมการเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลมาสองเล่ม  เพื่อให้เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ”

ด้านซัลวา  มิคดาดี  หัวหน้าฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมของมูลนิธิเอมิเรตส์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งต่อสองนักเขียนผู้ทรงคุณค่า  และเป็นครั้งแรกที่นักเขียนนวนิยายสตรีได้รับรางวัล  พวกเราจะยังเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลต่อไป  อย่างไรก็ตาม  ผมต้องเครียดเมื่อรู้ว่ามูลนิธิไม่มีส่วนในการจัดหากรรมการหรือเข้าไปเป็นกรรมการตัดสินรางวัล  ซึ่งผมก็ยินดี เพื่อให้รางวัลนี้มีอิสระในการตัดสินรางวัล”

สำหรับผลงานของนักเขียนชาวอาหรับที่เคยได้รับรางวัลนี้มาแล้ว ได้แก่   Sunset Oasis โดย Bahaa Taher (2008),  Azazel โดย Youssef Ziedan (2009),  Spewing Sparks as Big as Castles โดย Abdo Khal (2010)  โดยนักเขียนทั้งสามคนที่เคยได้รับรางวัลนี้  ได้เคยนำเสนอในคอลัมน์เส้นทางนักเขียนไปแล้ว

ประวัติของนักเขียนผู้ได้รับรางวัลทั้งสอง  โมฮัมเหม็ด  อาชารี  เป็นนักกวีชาวโมร็อกโก  เกิดเมื่อปี  1951  รวมบทกวีนิพนธ์เล่มแรกตีพิมพ์เมื่อปี  1978  มีผลงานเขียนที่เป็นรวมกวีนิพนธ์มาแล้วทั้งหมด  10  เล่ม  ผลงานรวมเรื่องสั้นและนวนิยายประเภทละ  1  เล่ม  เขาทำงานเป็นผู้สื่อข่าวและงานการเมือง  ซึ่งทำให้ได้เข้าไปทำงานในหลากหลายตำแหน่งของรัฐบาล  รวมถึงปัจจุบันที่โมฮัมเหม็ด  อาชารี  ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม  ของประเทศโมร็อกโก

ส่วนราชา  อาเล็ม  เป็นนักเขียนนวนิยายชาวซาอุดีอาระเบีย  ผลงานของเธอมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในเซคชั่นวัฒนธรรมของหนังสือพิมพ์  Riyadh  และยังทำงานเขียนบทละครแนวทดลองให้กับคณะละครเวที  เธอได้รับรางวัลชนะเลิศด้านวรรณกรรมหลากหลายรางวัลด้วยกัน  เช่นในปี  2005  ได้รับรางวัล  Arabic Women’s Creative Writing Prize  เนื่องในวาระครบรอบ  60  การก่อตั้งองค์การยูเนสโก 

 

และยังได้รับรางวัล  Lebanese Literary Club Prize  ในกรุงปารีส เมื่อปี  2008  ผลงานบางเล่มของเธอ  ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสเปน

ที่มา นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185