คนรวยกับคนจน คนจนกับคนรวย ที่นับวัน ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ยิ่งห่างมากขึ้น
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่โรงแรมรามาการ์เดนสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีนโยบายสาธารณะหัวข้อ “สองทศวรรษแห่งการพัฒนาของสังคมไทย : นัยยะต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ”
นาย นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นำเสนอผลงานวิจัยหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย” ว่า จากการศึกษาข้อมูลในช่วง 20 ปีพบครอบครัว 6 ประเภท คือ ครอบครัวอยู่คนเดียว 2.4 ล้านครัวเรือน อยู่กับเพื่อนหรือญาติ 0.7 ล้านครัวเรือน ครอบครัว 1 รุ่น (พ่อแม่ลูก) 3.3 ล้านครัวเรือน ครอบครัว 2 รุ่น (คน 2 ครอบครัวอยู่ด้วยกัน) 8.0 ล้านครัวเรือน ครอบครัว 3 รุ่น (3 ครอบครัวอยู่ด้วยกัน) 4.0 ครัวเรือน และครอบครัวแหว่งกลาง (หลานอยู่กับปู่ย่าตายาย)มี 2.3 ล้านครัวเรือน
จากการศึกษาก็พบทั้งข่าวร้ายและข่าวดี แต่น่าสนใจว่ามีตัวเลขของผู้สูงอายุมากขึ้นมาก อีกทั้งครอบครัว 3 ประเภท คือ ครัวเรือนอยู่คนเดียว ครัวเรือน 3 รุ่น ครัวเรือนแหว่งกลางหรือครอบครัวที่หลานอยู่กับปู่ย่าตายายมีจำนวนเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามีการพึ่งพิงระหว่างสมาชิกในครัวเรือนมากขึ้น
นาย นิพนธ์ กล่าวว่า น่าสนใจว่าครอบครัวแหว่งกลางมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอีสานและภาคเหนือ เพราะมีการอพยพของแรงงานจากชนบทไปสู่ภาคอื่นทำให้คนอยู่ในกลุ่มแรงงานส่งลูก หลานไปอยู่กับปู่ย่าตายาย น่าสนใจว่าผู้สูงอายุที่เลี้ยงหลานมีอายุต่ำกว่า 65 ปีและพึ่งพิงการดูแลจากภาคอื่น คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนได้รับเงินอุดหนุนจากครอบครัวประเภทอื่นถึงร้อยละ 53 โดยมีค่าเฉลี่ยที่ส่งเงินกลับบ้านถึง 4 หมื่นบาทต่อปี
ขณะที่ครัวเรือนประเภทอื่นได้รับเงินอุดหนุนเพียงร้อยละ 12-23 เท่า นั้น ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฎการณ์คนในครอบครัวใหญ่ที่อยู่ในเมืองอยู่ร่วมกันมาก ขึ้น ทั้งนี้มีเหตุผลที่จะช่วยกันประหยัดรายจ่ายต่างๆ เช่น ค่าบ้าน เนื่องจากการเช่าบ้านในเมืองใหญ่มีราคาแพง เป็นต้น
ทั้งนี้มีความน่าสนใจว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้นมากแทบทุกด้าน นั่นเพราะขนาดของครัวเรือนเล็กลงทำให้การศึกษาดีขึ้นทั้งในเมืองและชนบท รวมทั้งมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้มีตัวเลขรายได้ต่อหัวของครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่ายต่อหัวและ มีตัวเลขคนจนลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและสาเหตุรองมาจากนโยบายแก้ไข ปัญหาความยากจน เช่น เบี้ยคนชรา โครงการอาหารกลางวัน หลักประกันสุขภาพที่เห็นได้ชัดหลังจากปี 2542 ที่เห็นได้ชัดว่านโยบายนี้ช่วยลดจำนวนคนจนลงเกือบ 7.5 แสน คน ทั้งนี้เห็นได้ชัดว่าฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนไทยดีขึ้นกว่าการเพิ่มจีดี พีเล็กน้อยและอัตราการเพิ่มรายได้ครัวเรือนกับรายได้จีดีพีมีความใกล้เคียง กันหรืออาจจะดีกว่าเล็กน้อย
“ในสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงปี 2503-2533 แต่จากการศึกษาพบว่าตัวเลขความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้มีค่อนข้างสูงและมีแนวโน้วขึ้นๆ ลง ๆ ตั้งแต่ปี 2535 แต่หลังจากนั้นความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยก็ยังคงระดับสูงหรือแทบไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้มีข่าวร้ายเรื่องการกระจายรายได้ เพราะยังพบตัวเลขคนรวยยังคงมีรายได้ในระดับสูงหรือสูงกว่าคนจนกว่า 14 เท่า ดังนั้นจึงถือว่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำไม่ได้ลดลงเลย เพราะรายได้ยังคงมีการกระจุกเช่นเดิม ถ้ามีการพัฒนาที่ดีจะไม่เป็นอย่างนี้”นายนิพนธ์ กล่าว
นอกจากนี้ยังมีปรากฎการณ์ที่สำคัญในการศึกษาที่พบว่า มีผู้เรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ลูกของคนที่เรียนน้อยหรือลูกของคนจนมีโอกาสเรียนต่อ น้อยกว่าลูกในครัวเรือนที่พ่อแม่เรียนสูงหรือฐานะดี นั่นจึงเป็นกระบวนการผลิตซ้ำความยากจน เพราะการศึกษาถือเป็นการยกระดับรายได้ โดยเห็นได้ชัดว่าการศึกษาของพ่อแม่มีผลกระทบต่อการเรียนต่อของลูกมากที่สุด ส่วนคนพิการนั้นก็มีโอกาสเรียนต่อมากขึ้น อย่างไรก็ตามความสำเร็จของคนไทยในการขยายโอกาสทางการศึกษาแทบไม่มี
“ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาความเสียเปรียบเรื่องการศึกษาในเมืองกับชนบทแทบไม่มี แต่น่าสนใจว่าผู้ชายและหญิงในชนบทมีโอกาสทางการศึกษา แต่ผู้หญิงมีการศึกษามากกว่าผู้ชายทั้งในเมืองและชนบท โดยพบว่าแรงงานไทยมีการศึกษาสูงขึ้น แต่น่ากังวลว่า ผู้มีการศึกษาต่ำส่วนใหญ่ทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบที่มีรายได้ไม่มั่นคงและ ยังคงรายได้ต่ำ”นายนิพนธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้เป็นข่าวดีว่ามีตัวเลขการออมเพิ่มขึ้น 10-12 เท่า ในช่วงปี 2531-2552 โดยพบว่าครัวเรือนที่เกิดรุ่นหลังมีการออกมากขึ้นกว่ารุ่นพ่อแม่ อันเป็นผลมาจาการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประธาน ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า หากมองผลการวิจัยครั้งนี้มีนัยยะเชิงนโยบายที่สามารถปรับใช้เป็นนโยบายทาง สังคม โดยรัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการมีบุตรที่ไม่เป็นภาระหนักเกินไปสำหรับพ่อแม่ เพื่อลดปัญหาสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ด้วยการมีนโยบายลดหย่อนภาษีรายได้สำหรับผู้มีบุตรในอัตราก้าวหน้าและแม่ที่ ต้องทำงาน รวมทั้งควรสวัสดิการช่วยเหลือการมีบุตรด้วย ส่วนเรื่องการศึกษานั้นควรปรับปรุงเรื่องคุณภาพการศึกษามากกว่าการขยายโอกาส ทางการศึกษาและจัดการการศึกษาที่เหมาะสำหรับนักเรียนยากจนที่ไม่ได้อยู่กับ พ่อแม่หรือพ่อแม่ที่มีการศึกษาต่อ
“จาก การศึกษาครั้งนี้พบว่า โรงเรียนชนบทโดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสมีนักเรียนน้อยลง แต่ขาดแคลนครูดี ดังนั้นรัฐบาลควรมีนโยบายยุบหรือเคลื่อนย้ายครูไปยังตามชนบทหรือไม่”นาย นิพนธ์ กล่าว
นายนิพนธ์ ยัง เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนว่า การลดความยากจนโดยเฉพาะกลุ่มคนจนดักดานและแรงงานนอกระบบไม่อาจพึ่งการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจหรือการใช้นโยบายสินเชื่อและไม่อาจอาศัยญาติมิตรได้ ดังนั้นบทบาทของรัฐส่วนกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน สำหรับเรื่องการกระจายรายได้ควรอย่างยิ่งที่ต้องปฏิรูปโครงสร้างภาษี ทรัพย์สินที่ดิน หุ้น มรดกและขยายฐานภาษีเงินได้ สำหรับนโยบายผู้สูงอายุนั้นควรให้โอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ รวมถึงเตรียมทรัพยากรด้านดูแลและค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ รวมทั้งควรมีนโยบายด้านสุขภาพจิตด้วย
ขณะที่นายอานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับชนบทว่า ช่วง 2 ทศวรรษ ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงในชนบทค่อนข้างมาก โดยเฉพาะชนบทไม่อาจอยู่ได้ด้วยตัวเองได้อีกแล้ว จากการศึกษาเรื่องการปรับโครงสร้างชนบทเห็นได้ชัดว่า ชนบทเปลี่ยนแปลงจากโลภาวิวัฒน์และเสรีนิยมใหม่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานแบบข้ามพรมแดนมากขึ้น ตลาดเสรีมีกลไกที่ไร้พรมแดนมากขึ้น การมองดูเรื่องของโลกาภวิฒน์ไม่อาจจะมองเรื่องการผลิตอย่างเดียวได้ โดยรัฐปล่อยให้ทรัพย์สินส่วนรวมทั้งที่ดิน น้ำ และป่าไม้ กลายเป็นสินค้าและรัฐทำนโยบายการขยายพื้นที่รัฐเหนือพื้นที่ด้วยการออกวาท กรรมเบียดขับให้ชาวนาออกพื้นที่ เช่น การบอกว่า การทำไร่เลื่อนลอยบนเขาไม่ได้ แต่ถ้าปลูกยางพาราในพื้นที่เดียวกันได้ เป็นต้น
นอกจากนี้รัฐยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรรมอาหารขนาดใหญ่ช่วงชิงพื้นที่การเพาะ ปลูกของรายย่อย รวมถึงมีการช่วงชิงและการกีดกันการเข้าถึงที่ดินเกษตรมากขึ้นและพบว่ามีการ ขายโฉนดปลอมเพิ่มมากขึ้น การจัดการทรัพยากรยักย้อนซับซ้อน สนับสนุนการขยายตัวของตลาด ทำให้ท้องถิ่นสูญเสียอำนาจการจัดการทรัพยากรนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของการ ดำรงชีวิตของคนชายขอบและกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ทั้งนี้พบว่าแรงงานภาคเกษตรมีการไหลเข้า-ไหลออก สำหรับคนที่ไหลกลับนั้นเป็นกลุ่มคนที่ออกจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อคืนท้องถิ่น แต่ก็มีการพบว่า การทำเกษตรมีต้นทุนสูงจึงทำให้ตอนนี้แรงงานภาคเกษตรแม้จะเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ก็กลายเป็นแรงงานภาคเกษตร
“สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนผ่านของคนชนบทในรอบ 20 ปี คือ คนในท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้นำชุมชนรู้จักวิธีการรักษาสิทธิของตัวเองมากขึ้น เขาพยายามอำนาจการต่อรองกับรัฐอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังพบว่า คนในชนบทเข้าใจการเมืองมากขึ้น”นายอานันท์ กล่าว
ที่มา นสพ.มติชน
คนรวยกับคนจน คนจนกับคนรวย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน