หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่มุสลิมไทย โพสต์
 
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
วันโลกาวินาศแห่งศก.สหรัฐฯ จะได้เห็นกันในเร็ววันแน่นอน

วันโลกาวินาศแห่งศก.สหรัฐฯ จะได้เห็นกันในเร็ววันแน่นอน
เอเอฟพี - ระบบเศรษฐกิจรายใหญ่โตที่สุดของโลก ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ได้ตกต่ำลงสู่ขอบเหวแห่งการล่มสลายแล้ว เพราะถูกบีบคั้นรอบด้านด้วยปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้ภาครัฐที่ควงสว่านลงสู่ก้นบึ้งของอเวจี เสียงเตือนในประการนี้จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ค่ายต่างๆ นับวันแต่จะสะท้อนก้องกังวานไปทั่ววงการ              อาทิ กูรูคนดังอย่าง นูรีล รูบินี ผู้เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่เตือนถึงหายนะแห่งวิกฤตตลาดหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์กลุ่มซับไพรม์ ตลอดจนเตือนว่าภาวะฟองสบู่ในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะแตกสลายอย่างแน่นอน             

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รูบินีกล่าวต่อที่ประชุมทางเศรษฐกิจในอิตาลีว่า “สหรัฐฯ นั้น ใช้บุญเก่าหมดแล้ว หากเกิดแรงกระแทกช็อกเข้าไปครั้งใด จะสามารถดึงสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยได้”             

ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่อาจไม่ได้เป็นข่าวบ่อยเท่ารูบินี ก็พากันเรียงหน้าเทกันมาในข้างที่เห็นนิมิตอันตรายในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในอนาคตอันใกล้นี้             

ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ลอเรนซ์ คอตลิคอฟฟ์ ซึ่งเตือนไว้นานมากแล้วตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ว่าให้ระวังอันตรายจากการเดินนโยบายสาธารณะแบบขาดดุล ได้ออกมาย้ำอีกครั้งถึงลางมรณะของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยกล่าวไว้ในสิ่งพิมพ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คือ นิตยสาร F&D Finance & Development Magazine ฉบับเดือนกันยายน 2010 ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว             

โดยมีการนำเสนอภาพการปะทะกันทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจของโลก คือ สหรัฐฯ กับจีน ประเทศซึ่งถือพันธบัตรกระทรวงการคลังอเมริกันไว้มากกว่า 843,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ท่านศาสตราจารย์ชี้ประเด็นว่า             

ความขัดแย้งด้านการค้าอันเป็นประเด็นเล็กๆ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้คนบางกลุ่มคิดว่า คนอื่นๆ อาจตัดสินใจเทขายระบายความเสี่ยงในการถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเมื่อความเชื่ออย่างนั้นถูกสำทับด้วยความวิตกในภาวะเงินเฟ้อ ย่อมอาจนำไปสู่การแตกตื่นเทกระจาดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างบ้าคลั่ง พร้อมกับส่งผลไปกระตุ้นให้สาธารณชนผวาถึงเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และโกลาหลกันไปถอนเงินฝากออกจากธนาคาร เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่คงทนกว่า 

             สิ่งที่ตามมาคือ การจุดชนวนให้เกิดภาวะสภาพคล่องฝืดเคืองรุนแรงในแวดวงของบรรดาธนาคารพาณิชย์และตลาดเงิน ตลอดจนบริษัทประกันภัยทั้งปวงเพราะผู้ถือกรมธรรม์ขอไถ่ถอนเพื่อหาความปลอดภัยให้ตนเอง             

“ในระยะเวลาเพียงสั้นแบบนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ย่อมต้องออกธนบัตรเพิ่มขึ้นมาหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างหลักประกัน แล้วเงินใหม่เหล่านั้นย่อมจะทวีความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อ จนอาจทำให้ถึงขึ้นไฮเปอร์” ศ.คอตลิคอฟฟ์เขียนเตือน             

ด้านสถาบัน StrategyOne Institute รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10) ในเรื่องผลการสำรวจความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ พบว่าชาวอเมริกัน 65% เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่

              เดวิด บรูกส์ ผู้เขียนบทนำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ นำเสนอไว้ว่า

              “เป็นความจริงที่ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง มิใช่ปัญหาชั่วคราวที่มาๆ ไปๆ ตามวงจรขึ้นลง”

              นอกจากนั้น บรูกส์ชี้ว่า สหรัฐฯ ทยอยสูญเสียพลังการครอบงำโลก ในลักษณะที่คล้ายมากกับตอนที่อาณาจักรอังกฤษเริ่มเสื่อมสลายเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

              “เราอยู่ในท่ามกลางการฟื้นตัวของปัญหาว่างงานรอบใหม่ ความยากลำบากในตลาดแรงงานของเรานั้นลึกซึ้งและตึงตัวมาก” บรูกส์ระบุไว้อย่างนั้น

              ในเวลาเดียวกัน จอมกูรูคนดังระดับโลกอย่างพอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แสดงความกังวลถึงชะตากรรมย่ำแย่ที่จะเกิดขึ้นกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังเปราะบางมาก โดยเตือนไม่ให้ประชาชนวิ่งกลับไปดึงพรรครีพับลิกันได้กลับสู่อำนาจ

              “ยากที่จะบอกได้ว่ามันจะเสียหายรุนแรงเพียงใดกับความคิดที่เสนอเมื่อต้นสัปดาห์นี้โดย จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียข้างน้อยในสภาผู้แทนฯ ถ้าแนวคิดดังกล่าวถูกนำไปดำเนินการจริง” ครุกแมนเขียนไว้ในบทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยฟันธงด้วยว่า

              “มันคือการที่ปริมาณงานน้อยลงผนวกดับการขาดดุลที่มหาศาลมากขึ้น - ช่างเป็นการผสมผสานที่ลงตัวสมบูรณ์เหลือเกิน”

              ส่วนหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งปกติจะเชียร์ข้อเรียกร้องของโบห์เนอร์ในเรื่องหั่นภาษี กลับนำเสนอบทวิจารณ์เขียนโดย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่ง ที่พูดฟันธงว่า “ข้อเท็จจริงนี้จำเป็นที่เราจะต้องกล้าเข้าไปเผชิญ นั่นคือ แทบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราจะถูกตีกระหน่ำอย่างยาวนาน”

              และไอเอ็มเอฟเอกก็ส่งเสียงเตือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่นกันว่า หนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงอย่างเหลือเกิน ประกอบกับภาคการเงินที่สั่นคลอน กำลังคุกคามว่าจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล้มเหลว

              “การยึดจำนองและขายทอดตลาดสินทรัพย์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นั้น นับว่ามหาศาลและขยายขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงของการให้ยกเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อได้หมดรอบลง สิ่งนี้อาจยิ่งซ้ำเติมสภาพย่ำแย่ในด้านของระดับราคาอสังหาริมทรัพย์สาหัสมากยิ่งๆ ขึ้นไป” ไอเอ็มเอฟร้องเตือนไว้อย่างนั้น-ผู้จัดการออนไลน์

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185