จูเลีย กิลลาร์ด - โทนี แอ็บบอต
ออสเตรเลีย เข้าสู่ภาวะ “ฮัง พาร์’ละเมินท์” ครั้งแรกในรอบ 70 ปี หลังไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ทั้งทางฝ่ายค้านและรัฐบาล ต่างอ้างสิทธิตั้งรัฐบาลแล้ว...
ความคืบหน้าการนับคะแนนเลือกตั้งทั่วไปของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 22 ส.ค. หลังนับผ่านพ้น 78 % คณะกรรมการการเลือกตั้งของออสเตรเลีย(เออีซี) แถลงว่าไม่มีพรรคใหญ่พรรคใดครองเสียงข้างมาก คือ 76 ที่นั่งเพื่อจัดตั้งรัฐบาล และว่าพรรครัฐบาล “แรงงาน”ของนายกฯจูเลีย กิลลาร์ด คว้าเก้าอี้ ส.ส.ได้แล้ว 70 ที่นั่ง
ส่วนพันธมิตรฝ่ายค้านอนุรักษนิยมของ นายโทนี แอ็บบอต ได้ 71 ที่นั่ง และทำให้ออสเตรเลีย เข้าสู่ภาวะ“ฮัง พาร์’ละเมินท์” ครั้งแรกในรอบ 70 ปี อันจะไม่เป็นผลดีต่อทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เออีซี ยังต้องใช้เวลานับคะแนนอีกร่วม 2สัปดาห์กว่าจะเสร็จและทราบผล อย่างเป็นทางการ
ด้าน นายกฯกิลลาร์ด แถลงว่าพรรคแรงงานมีคะแนนเสียงรวม (ป๊อปพูลาร์โหวต) มากกว่าจึงมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลก่อนและกำลังเจรจาดึง ส.ส.อิสระ และส.ส.จากพรรค “กรีน” มาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ส่วนนายแอ็บบอต มั่นใจเช่นกันได้เป็นฝ่ายตั้งรัฐบาล อ้างผลเลือกตั้งที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าชาวออสเตรเลีย ต้องการเปลี่ยนผู้นำ ขณะที่นักวิเคราะห์ระบุว่าผลเลือกตั้งดังกล่าว บ่งบอกว่าเจ้าของสิทธิ์เมืองจิงโจ้ ลงโทษพรรคแรงงานกับ นายกฯกิลลาร์ด ที่ก่อหวอดภายในขับไล่ อดีตนายกฯเควิน รัดด์ พ้นเก้าอี้ เมื่อ 8 สัปดาห์ก่อนและการพลิกกลับลำนโยบายสำคัญหลายข้อรวมทั้งการรับมือภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ ยังพบว่าด้วยว่ามีบัตรเสียในการเลือกตั้งครั้งนี้ กว่า 619,000 ใบ หรือ 5.64%ของยอดบัตรเลือกตั้งสุทธิ เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี2550ที่พรรคแรงงานคว้าชัยถล่มทลายถึง1.69% และอาจสะท้อนได้อีกทางหนึ่งว่าสาธารณะชน ไม่เห็นด้วยกับนโยบายพรรคการเมืองหลักๆ เท่าใดนัก
การเลือกตั้งออสเตรเลียปีนี้ ยังแจ้งเกิด ส.ส.ที่เป็นมุสลิม ชนเผ่าอะบอริจินและอายุน้อยสุด เข้าสภาเป็นครั้งแรกด้วย โดย ส.ส.มุสลิมคนแรกของเมืองจิงโจ้ คือเอ็ด ฮูซิค สังกัดพรรคแรงงาน คว้าชัยในเขตนครซิดนีย์ ด้าน ส.ส.อายุน้อยสุด คือไวแอตต์ รอย นักศึกษาวัย 20 ปี สังกัดพรรคฝ่ายค้านอนุรักษนิยม ชนะที่เขตเมืองลองแมน ทางเหนือของออสเตรเลีย ส่วนเคน ไวแอตต์ จากพรรคเดียวกันกับรอย กำลังจะได้เป็นส.ส.ชนเผ่าอะบอริจินคนแรก แม้มีคะแนนนำคู่แข่งในเขตฮีสลัค รัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย อยู่แค่ไม่ถึง 400 คะแนน ก่อนหน้านี้ มีชนเผ่าอะบอริจินได้รับเลือกเข้าสภามาแล้ว 2 คน คือวุฒิสมาชิกเนวิล บอนเนอร์และเอเดน ไรดจ์เวย์ในปี 2514และ 2531ตามลำดั