รฟท.มั่นใจพร้อมเปิดแอร์พอร์ตลิงก์เชิงพาณิชย์ 23 ส.ค. นี้
ผู้ว่าการรถไฟ ลั่นพร้อมเปิดแอร์พอร์ตลิงก์ให้บริการเชิงพาณิชย์ 23 ส.ค.นี้ คาดจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคน มีรายได้กว่า 1 ล้านบาทต่อวัน ส่วนการเช็คอินเทอร์มินอล จะให้บริษัทฯดูและระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสุวรรณภูมิทำเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันและลดความสับสน
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าขณะนี้การรถไฟมีความพร้อมในการเดินรถในโครงการโครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงก์ โดยจะเปิดให้บริการประชาชน และเก็บค่าโดยสารในวันที่ 23 ส.ค.นี้ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการประมาณ 50,000 คนต่อวันหรือมีรายได้ประมาณวันละ 1ล้านบาท เพราะจากการทดลองเปิดให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ในขณะนี้มีประชาชนให้ความสนใจ มาใช้บริการวันละ 10,000 คน หากมีการเปิดเต็มระบบตั้งแต่เวลา 06.00 น.-24 .00 น.ก็จะทำให้ประชาชนให้ความสนใจมาใช้บริการมากขึ้นและต่อไปก็จะพิจารณาเปิด บริการตามเวลาที่สอดคล้องกับการเดินทางของผู้โดยสาร
นายยุทธนา กล่าวต่อว่า ในส่วนของการเช็คอินเทอร์มินอลนั้นรถไฟฯจะไม่มีการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง ให้เอกชนรายอื่นมาดำเนินการแต่จะให้เอกชนรายเดิมคือบริษัทแดน-ไทย อิควิปเม้นท์ จำกัด ที่ดูแลระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาดำเนินการเพื่อให้ระบบเป็นระบบเดียวกันป้องกัน การสับสนของผู้โดยสารและป้องกันกระเป๋าสัมภาระสูญหายหากให้เอกชนรายอื่นเข้า มาดำเนินการและใช้ระบบการดำเนินการที่ต่างกันส่วนการบริหารพื้นที่เชิง พาณิชย์ของโครงการแอร์พอร์ต์พลิงก์นั้นเป็นหน้าที่ของบริษัทเดินรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ จำกัดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้ง และในสัปดาห์นี้ นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ประธานคณะกรรมการร่างคุณสมบัติผู้บริหารบริษัทดังกล่าว จะเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อร่างคุณสมบัติผู้บริหารจากนั้นก็จะเสนอคณะ กรรมการพิจารณาเพื่อสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวต่อไป
นายยุทธนา กล่าวอีกว่า สำหรับการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้พนักงานรถไฟมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นั้นขณะนี้การรถไฟฯได้อยู่ระหว่างการติดแอร์ ให้หัวรถจักรมีเป้าหมายให้ครบ 209 คัน คนละ5-6 แสนบาท และขณะนี้ทำการติดแอร์ไปแล้ว 3คันที่เหลือก็จะทยอยติดแอร์ให้ครบในปีนี้วงเงินรวม 200 ล้านบาท รวมถึงการพัฒนาโบกี้พ่วงท้ายให้กับพนักงานช่างเครื่องที่ต้องเดินทางไปกับ พนักงานขับรถไฟให้ครบทุกเส้นทางรวมงบ200 ล้านบาท และการพัฒนาบ้านพักรถไฟอีก 100 ล้านบาทโดยทั้งหมดนี้เป็นงบดำเนินการของการรถไฟฯไม่ได้ใช้งบปรับปรุงรถไฟฯ ที่ทางรัฐบาลอนุมัติให้170,000 ล้านบาทซึ่งในส่วนนี้รถไฟฯมีแผนจะนำงบประมาณไปใช้อยู่แล้วรอเพียงการเบิก จ่ายงบในส่วนนี้เท่านั้น - ไทยรัฐออนไลน์ |