หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่มุสลิมไทย โพสต์
 
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
อุปนิสัยที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ

มุสลิมไทยดอทคอม อุปนิสัยที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ
www.muslimthai.com

ก่อนจะพูดเรื่องการบริหารการเงินของเจ้าของกิจการรายย่อย  ก็เห็นว่าน่าจะชวนท่านผู้อ่านมาลองสำรวจตัวเองดูว่ามีอุปนิสัยที่เป็นคุณต่อการทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหน

ท่านที่ทำธุรกิจอยู่แล้วจะได้ย้อนมองดูตนเองว่าใช่ไหม มีอะไรต้องปรับหรือไม่ ส่วนท่านที่กำลังคิดจะเริ่ม จะได้มีโอกาสรู้จักตนเองก่อนที่ก้าวเข้ามาสู่สนามแห่งการทำธุรกิจ

กล้าเสี่ยง

แน่นอนว่าคนทำธุรกิจต้องกล้าได้กล้าเสีย เพราะหากมัวรีรอ ธุรกิจก็ไม่เจริญก้าวหน้าเสียที ดีไม่ดีล้าหลังหรือตามคนอื่นไม่ทันก็จะเสียหายกันไปหมด

ดังนั้นก่อนที่เราจะทำธุรกิจ เราต้องพิจารณานิสัยของตัวเองก่อนว่ามีข้อนี้หรือเปล่า หากว่าเราเป็นคนที่ชอบความมั่นคงปลอดภัย ไม่ชอบเสี่ยง ไม่ชอบลุ้น การจะมาทำธุรกิจส่วนตัวนั้นจะพลอยทำให้เกิดความเครียดไปเสียเปล่าๆ แต่ถ้าใครอยากจะรู้ซึ้งถึงคำว่า “ตะวักกุ้ล” (มอบหมายต่ออัลลอฮฺ)แล้วละก็ ขอบอกว่าคุณเอ้ย ซึ้งในรสพระธรรมเลยทีเดียวเชียว


ยกตัวอย่างนิสัยที่กล้าเสี่ยงก็อย่างเช่น การยอมที่จะเสียส่วนน้อยไปก่อนเพื่อจะได้ส่วนมาก ซึ่งบางทีก็อาจจะไม่ได้เลย! ก็คล้ายกับการตกปลา ที่เราจะต้องมีเหยื่อให้  ซึ่งบางทีเราก็ได้ปลาตัวใหญ่ บางทีเราก็ได้ปลาตัวเล็ก หรือบางทีเราก็โดนปลาตอดกินเหยื่อไปฟรีๆก็มี ซึ่งการทำธุรกิจก็คล้ายๆกัน
 
มองการณ์ไกล

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะต้องมองการณ์ไกล สามารถวิเคราะห์คาดเดาเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เพราะจะทำให้เราก้าวหน้ากว่าคนอื่น 1 ก้าวเสมอ 

เพราะเมื่อเขาคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เขาก็จะสามารถเตรียมตัวและพร้อมรับสถานการณ์ได้ดีกว่าคนอื่น ซึ่งหากเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรง ก็อาจจะทำให้ถึงขั้นต้องปิดกิจการไปเลย นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของบางคนก้าวหน้า บางคนคงที่และบางคนล้าหลัง

ติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา

คนที่ทำธุรกิจ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ข่าวสารต่างๆ โดยเฉพาะข่าวสารด้านธุรกิจ ข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เช่น ราคาน้ำมัน ราคาหุ้น ราคาทอง เพราะเป็นตัวชี้วัดบรรยากาศทางการทำธุรกิจในประเทศ และรวมถึงข่าวสารการบ้านการเมืองทั่วๆไป และเมื่อทำธุรกิจใหญ่มากขึ้นเพียงใด ก็ต้องอ่านข่าวต่างๆมากขึ้นเป็นเท่าตัว

การติดตามอ่านข่าวสารจะช่วยทำให้เรารู้กระแสการเติบโตทางเศรษฐกิจว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทำให้เราสามารถปรับกลยุทธ์ของเราได้ เพราะหากว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดี แต่เราไปเอาของฟุ่มเฟือยราคาแพงมาขาย แน่นอนว่าผู้บริโภคก็อาจจะเมินไม่ซื้อ เพราะยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีคนก็ยิ่งระมัดระวังในการใช้จ่าย เราจึงควรขายของที่เหมาะกับสถานการณ์หรืออีกทางหนึ่งก็คือเราสามารถที่จะปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดีอีกด้วย

มีความซื่อสัตย์

เราคงจะเคยได้ยินคำว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” คำนี้เป็นสาระสำคัญของคนทำธุรกิจเลยทีเดียว  เพราะหากว่าเราคอยแต่คิดจะคดโกง หรือเอาเปรียบคนอื่น ไม่นานธุรกิจของเราก็จะเจ๊งไม่เป็นท่า ไม่มีใครอยากจะทำการค้าขายกับคนโกงหรอก

ดังนั้นคนที่สามารถทำธุรกิจส่วนตัวได้ จะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์มากๆ เพราะคนที่ซื่อสัตย์จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า คู่ค้า หรือแม้แต่คนที่ซื้อสินค้าเราไปขาย เพราะเขาจะแน่ใจว่าสินค้าเราดี และไม่มีทางโกงอย่างแน่นอน

ตรงต่อเวลา

ความตรงต่อเวลาเป็นนิสัยพื้นฐานที่เราควรจะมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้วในฐานะของการเป็นมุสลิม เพราะจากสถิติแล้วมุสลิมเป็นชนชาติที่มีความตรงต่อเวลาที่สุด ไม่เชื่อลองดูตอนละหมาดญะนาซะฮฺ (ละหมาดคนตาย) หรือตอนละศีลอดก็ได้ เห็นไหมครับว่าตรงเวลาเป๊ะ

นิสัยตรงต่อเวลาจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นหากว่าเราเลื่อนขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของความน่าเชื่อถือและความน่าทำการค้าด้วยเช่นกัน

ลองคิดดูว่า หากคนที่เราจะเจรจาธุรกิจด้วยเป็นครั้งแรกนั้นมาสาย แน่นอนว่าเราคงจะไม่ชอบใจนัก และเริ่มไม่แน่ใจว่าจะทำธุรกิจกับคนนี้ดีหรือเปล่า เพราะไม่แน่ใจว่าเขาจะส่งของตรงเวลาหรือเปล่า อาจจะพานไประแวงว่าเขาเป็นคนรักษาคำพูดแค่ไหนด้วย

โดย อ.อัชอารีย์ เรืองปราชญ์ ที่มา นิตยสารริสกี [email protected]

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/muslimthai/main/index.php on line 185