สำนักข่าวมุสลิมไทย กระบวนการสรรหาจุฬาฯ ตาม พรบ.ปี 2540 
(คลิกดูภาพขนาดใหญ่) กรณีที่ 1 หากมีการเสนอรายชื่อผู้จะเป็นจุฬาฯ มากกว่า 3 รายชื่อ จะดำเนินการ ตามขั้นตอนดังนี้ 1-> 2 -> 3 ->4 -> 5 (ตามลำดับ) กรณีที่ 2 หากมีการเสนอรายชื่อผู้จะเป็นจุฬาฯ ไม่เกิน 3 รายชื่อ จะดำเนินการ ตามขั้นตอนดังนี้ 1 -> 4 -> 5 (ตามลำดับ) คำอธิบายไดอะแกรม: ขั้นตอนที่ 1 (เริ่มต้น) กรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดจำนวน 740 คนทำการเสนอรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี (ไม่จำกัดจำนวน) ขั้นตอนที่ 2 อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเลือกกรรมการสรรหาจำนวน 38 คนโดยจับฉลากจากรายชื่อกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด 38 จังหวัด (จังหวัดละ 1 คน) ขั้นตอนที่ 3 เริ่มกระบวนการสรรหา(ลับ) โดยกรรมการ 38 คน พิจารณารายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีทั้งหมด ให้เหลือเพียง 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 4 กรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดจำนวน 740 คน สรรหา(ลับ) ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี 1 ท่าน ขั้นตอนที่ 5 (สิ้นสุด) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี สรุปความจากกฏกระทรวง (พ.ศ 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ.2540 - www.muslimthai.com ข้อมูลเพิ่มเติม:(คลิก) - ไดอะแกรม (รูปภาพ) การสรรหา - วิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรี (โดยละเอียด) - พระราชบัญญัติ การบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. 2540 (คุณสมบัติของจุฬาราชมนตรี) - กฏกระทรวง (พ.ศ.2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 - โหลดโลโก้โครงการรณรงค์จุฬาสีขาวไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ |