มุสลิมไทยดอทคอม Pattani Place มิติใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ อยู่เคียงคู่ประชาชนชายแดนใต้ ส.ว.วรวิทย์ บารู ข้อมูลเพิ่มเติม www.pattaniplace.com โครงการ Pattani Place ซึ่งได้เกิดขึ้นที่ทำเลทองของการศึกษา ใกล้กับมอ.ปัตตานี การผุดปัตตานีเพลสทำให้มุสลิมในพื้นที่ ตั้งข้อสังเกตกันอย่างมากมาย เพราะนับเป็นนิมิตใหม่ที่สำคัญ โดย ปัตตานีเพลสจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และศูนย์การค้าที่สมบูรณ์แบบในจังหวัดปัตตานี และประเด็นสำคัญคือเป็นการร่วมกลุ่มการลงทุนโดยนักธุรกิจมุสลิม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปีของประเทศไทยด้วยนั้นเอง (คลิกอ่านข่าว)  ส.ว.ปัตตานี ดร.วรวิทย์ บารู
ส.ว.ปัตตานี ดร.วรวิทย์ บารู ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนจังหวัดปัตตานีอย่างมากมาย ได้ให้สัมภาษณ์กรณีพิเศษกับสำนักข่าวมุสลิมไทยว่า โครงการแบบนี้ถ้าไม่แน่จริงๆคงไม่กล้าที่จะมาลงทุน ไม่กล้าแม้แต่จะคิด ไม่กล้าที่จะทำ หากโครงการเหล่านี้ประสบผลสำเร็จมันก็เหมือนกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งยิ่งใหญ่ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ถึงจิตวิญญาณของพื้นที่ว่าเป็นยังไง เราจะพัฒนาคนในพื้นที่อย่างไร ธุรกิจที่จะดำเนินการจะต้องไม่เป็นสิ่งต้องห้ามและถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ Pattani place จะสำเร็จได้คนในพื้นที่ต้องร่วมใจกัน แต่ว่าธุรกิจที่จะให้ประสบผลสำเร็จนั้นซึ่ง Pattani Place มีเรื่องของศูนย์การค้า โรงแรม และที่อยู่อาศัย ผมว่าการที่จะทำให้สำเร็จและถามว่าปัตตานีจะมีแบบนี้ได้ไหม ถ้าลำพังโดยทั่วไปคนวิเคราะห์กันแล้ว นักธุรกิจคงไม่กล้า ถึงแม้ว่าจะคิดดียังไงก็แล้วแต่ การนำเสนอจะดียังไงก็แล้วแต่ 
ถ้าหากว่าความร่วมมือกับพื้นที่ไม่มี ซึ่งต้องไม่ลืมว่าถ้าเราขายเฉพาะตึกซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาแล้วมันไม่มีลูกค้า หรือไม่ได้รับความสนใจจากสังคมในพื้นที่มันก็ไปไม่รอดและก็ไปไม่ได้ แต่สิ่งอย่างหนึ่งที่จะปฎิเสธไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในเชิงของธุรกิจหรือพัฒนาในเชิงสังคมต่างๆมันจะหลีกจากอิสลามไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นในพื้นที่ตรงนี้ ผมเคยพูดไว้ว่า ถ้ารัฐบาลฉลาดในการที่จะแก้ปัญหาชายแดนใต้ตรงนี้ คุณจะต้องแอบไปมองว่าทางมาเลย์เซียเขามีการพัฒนาอย่างไร ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่า ทางมาเลเซียนั้น เป็นประเทศที่ค่อนข้างพัฒนาใหม่ และก็มีวิธีคิดในการพัฒนาใหม่ ที่มีรากฐานอิสลาม ซึ่งเป็นอิสลามที่เรารับได้ เป็นอิสลามที่เป็นกลางมากๆ อิสลามที่อยู่ในโลกนี้ได้ โดยคนอื่นๆก็เคารพ เกาไม่ถูกที่คัน ประโยชน์ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้การแก้ปัญหา ที่แก้กันไม่รู้จักจบสิ้น แก้ไม่ผ่านสักที ก็เพราะอยู่ละเลยข้อเท็จจริงนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่นว่า เวลาเราจะพัฒนา เราก็มัวบอกว่า ต้องให้แก่คน ซึ่งเราก็มักจะไปมองที่หอการค้า สภาอุตสาหกรรมอะไรต่างๆเหล่านี้ ถ้าถามว่าถูกไหม (ถูกต้อง) แต่สังคมที่นี่ต้องบอกว่าไม่เหมือนสังคมมาเลเซีย สังคมมาลายูมาเลเซียเค้าเริ่มจากข้างบนมาก่อน รัฐบาลมาเลเซียส่วนใหญ่คุมอยู่ แต่ในประเทศไทยนั้นแตกต่างออกไป ถ้าเราย่อภาพให้เล็กลงประเทศมันเป็นเขตพื้นที่มันสะท้อนภาพว่าตัวแทนของเขามันสะท้อนภาพโครงสร้างประชากร ในการพัฒนาจะเป็นหอการค้า หรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่ก็มันจะพูดถึงแต่ธุรกิจให้อยู่ได้ และจะได้จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ผลสะท้อนจากการที่ทำนั้นคืออะไร ส่งออกฮาลาลก็พูดถึงเรื่องเงินกู้ ผมถามว่าคนส่วนใหญ่จะพัฒนากันอย่างไร ซึ่งในวันนี้เราถามว่าสิ่งที่ให้ชาวบ้านได้รับอย่างเช่น ให้ไก่ 50 ตัว เป็ด 20 ตัว แพะ 5 ตัว ต่อหลังคาเรือนจะถามว่ามันสร้างตัวได้หรือเปล่า กับสิ่งที่ได้รับจากรัฐ มันจะเป็นสิ่งสะท้อนว่าคนในพื้นที่นี้ คนสนใจการเรียนหนังสือไหม รัฐก็เคยบอกว่าคนในพื้นที่ตรงนี้ไม่ค่อยชอบเรียนกันหรือเรียนกันน้อย แต่ในข้อเท็จจริงคนในพื้นที่บอกว่าฉันเรียนมาตั้งนานแล้วนะ แต่ฉันไม่มีงานทำ พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา แนวคิดหลักของปัตตานีเพลส เราพอจะมองเห็นว่าถ้าเราจะลุยในเรื่องของการศึกษา เยาวชนจะต้องอยู่ในกรอบของทางด้านศาสนา ในขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาเรื่องภาษา เรื่องหลักวิชาการ เพื่อใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย สอบเรียนต่อต่างประเทศ ความต้องการเหล่านี้ถูกนำมารวมไว้ที่ปัตตานี เพลส เพราะสามารถสนองสิ่งต้องการของเด็กเหล่านี้ได้ ให้พวกเค้ามองเห็นอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หากพวกเค้าจบมาและมีการสร้างโรงงานโดยเจ้าของเป็นมุสลิม นั้นหมายถึงจะเป็นการสร้างโอกาสให้เด็ก 20-40 คน สามารถสร้างอาชีพได้ 
เรื่องอย่างนี้ผมเคยพูดไว้ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขาปัตตานี ผมบอกว่าถ้าเราอยู่สังคมศาสตร์มันจะไปไม่รอด มันพัฒนาไม่ได้ มันจะต้องสร้างแบบการเป็นผู้ประกอบการเพราะจะได้พัฒนาคนได้อีกเท่าไหร่
มุสลิมที่นี้เรียนศาสนามากกว่าสายสามัญ คนก็มักจะพูดว่าเยาวชนที่นี้เรียนแต่ศาสนามากไป ผมถามว่าโรงเรียนหนึ่งๆ ที่มีอยู่ประมาณหมื่นๆ จบม.6 ซึ่งไม่ต่ำกว่าหมื่นนั้น ที่พูดอย่างนี้เพราะว่าผมเป็นกรรมการสภาของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รู้ว่าเด็กที่จะเข้ามาเท่าไหร่ ถามว่าเด็กเหล่านี้จะมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะตอบว่าจะต้องไปต่อศาสนาที่เมืองนอก ส่วนที่เหลือเขาก็เลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศทั้งนั้น แต่ถ้าการศึกษามันต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแล้วมันจะสอบอะไรได้ นอกเหนือจากการสอบในราชภัฏก็ดี หรือในระดับมหาวิทยาลัยก็เลือกสังคมศาสตร์ มันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ เด็กที่จบมาก็เต็มไปหมด และไม่รู้จะทำงานอะไร แล้วไหนคนที่จบมาจากเมืองนอกจบมาก็ไม่รู้จะทำอะไร ซึ่งคนเหล่านี้จบสังคมศาสตร์มาก็ต้องมาหาความสามารถเองที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ เพราะฉะนั้นปัตตานี เพลส จะเป็นที่สร้างคนให้เขาไปอยู่ตรงนั้น และเป็นสิ่งที่ช่วยรัฐโดยแท้ และในเชิงคุณธรรมนั้น ยังปกป้องเด็กมุสลิมมากมายที่ต้องไปเสียหายในกรุงเทพฯหรือในหาดใหญ่ ปัตตานีเพลสตอบโจทย์ความไม่เข้าใจของรัฐ แต่จริงๆแล้วปัตตานีเพลสจะเป็นตัวตอบโจทย์ของความไม่เข้าใจของรัฐ แต่ถึงรัฐบาลเองจะให้มีการติวในพื้นที่ก็ทำได้เท่านั้น ความเชื่อมั่นของประชาชนยังน้อยไป ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ส่งลูกไปติวที่หาดใหญ่ในช่วงปิดเทอมต้องลองไปดูว่าเท่าไหร่ และเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แต่ถ้ามาอยู่ในปัตตานี เพลส ความเป็นห่วงของเขาก็จะหมดไป และรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะลดลง และสิ่งที่รัฐจะได้เต็มๆนั่นก็คือ สมองของเด็กในพื้นที่ก็จะได้รับการพัฒนาไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรที่จะมีตั้งนานแล้ว 
ซึ่งเหมือนที่ผมบอกว่าจิตวิญญาณของคนที่นี่ในเรื่องของการศึกษาเราไม่รู้เราก็ไปไม่ได้ แต่ถ้าเราต้องเอาสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปด้วยในการพัฒนา ผมว่าการมาของปัตตานีเพลส เป็นการสนองตอบและเหมาะเจาะสำหรับความต้องการของคนในพื้นที่นี้ มันกำลังขึ้นมา เพราะสิ่งเหล่านี้คือเทรนด์ในปัจจุบันและเป็นเทรนด์สำหรับประเทศด้วยซ้ำ และการที่เด็กจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเราก็ต้องเพิ่มความรู้ให้เขา เพราะฉะนั้นปัตตานีเพลส คือสิ่งที่สังคมในพื้นที่นั้นคาดหวังมานาน และความจำเป็นแห่งยุคสมัย และผมยังมองว่าในเรื่องของธุรกิจก็คือธุรกิจ แต่ในเรื่องของการศึกษานั้นมันสนองตอบได้มากมาย ถ้าปัตตานีเพลสไม่เปิดตรงนี้เขาก็จะส่งลูกไปหาดใหญ่ ไปกรุงเทพ และการเปิดในที่ตรงนี้จะเป็นตัวอย่างของคนในพื้นที่ เพราะฉะนั้นการมาของปัตตานีเพลส จะเป็นการเปิดโลกทางด้านของการศึกษาของคนที่ทำโรงเรียนอยู่ (เจ้าของโรงเรียนปอเนาะ) และรวมไปถึงให้เด็กๆได้รับทราบว่ามีสิ่งแล้วนะ และจะได้ไม่ต้องไปที่ไกลๆ และเราสามารถที่จะเชื่อมต่อกับติวเตอร์ดังๆ และธุรกิจเหล่านี้จะได้ผลบุญมากในการช่วยที่ตรงนี้ แต่ว่าเราก็ต้องไปคุยเรื่องนี้กับเจ้าของโรงเรียนให้เค้ามองให้ไกล และไม่ควรเสียโอกาสที่จะมาเข้าร่วมระดมสมองในการสร้างปัตตานีเพลสให้กับเยาวชนที่พวกเขาดูแลอยู่ มันถึงเวลาที่ต้องมี พ.ร.บ.โรงเรียนสอนศาสนาแล้ว ประการสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากไว้คือ เรื่อง พ.ร.บ.โรงเรียนสอนศาสนา ควรที่จะคิดกันได้แล้ว เพราะว่าในพื้นที่ตรงนี้มีโรงเรียนเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีเฉพาะเพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้ และครูที่จบเหล่านี้ส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งจบจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งก็จบจากเมืองไทย เขาสามารถที่จะมองทิศทางทางการศึกษาของเขาได้ เขาสร้างโรงเรียนเติบโตได้ เด็กก็จะสามารถเข้าสู่ในระดับการศึกษาที่ดี ผมเคยเสนอในส่วนกลางเรื่องของการประชุม OIC (Organization of the Islamic Conference) เกี่ยวกับเรื่องของการประชุมให้เอาพื้นที่ปัตตานีเป็นการจัดการประชุม ให้จัดขึ้นรายปี หรือรายสองปี ภายใต้ชื่อ OPC (Organization of the pattani Conference) ให้มาพูดเรื่องของปัตตานี ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นมุสลิมก็ได้เพื่อมานั่งคุยกัน ซึ่งคนปัตตานีในกรุงเทพเขาก็เคยมาพูดกับผมว่าเขายินดีที่จะช่วยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นมุสลิมหมด แต่ไม่มีใครมอง คิดใหม่ คิดให้ไกลๆกับการพัฒนาเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ อยากจะฝากถึงคนที่คิดว่าการเกิดขึ้นของปัตตานีเพลสนั้นจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านลบ ก็อยากให้เปลี่ยนทัศนคติว่า การเกิดขึ้นของโครงการดังกล่าวนี้จะทำให้สังคมภาคประชาชนมีความมั่นคงมากขึ้น ลองมองให้ไกลออกไปว่า อีก 3-5ปีข้างหน้า เราจะมีทรัพยากรบุคคลด้านวิชาชีพเป็นร้อยเป็นพันคนจากต่างประเทศและมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งผลผลิตของปัตตานีเพลสจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีรากฐานมั่นคงและมีความแข็งแกร่งในทุกๆด้านอย่างแน่นอน- www.muslimthai.com ข้อมูลเพิ่มเติม www.pattaniplace.com |