TEL AVIV - Israeli campaigners are urging a boycott of Swedish products and companies such as Ikea and Volvo, the Jerusalem Post reported. Sweden's Aftonbladet newspaper sparked a row with Israel last week when it published a report claiming Israeli soldiers snatched Palestinian youths to steal their organs and returned their dismembered bodies days later. เทลอาวีฟ สื่อเยรูซาเล็ม โพสต์ รายงานว่า นักรณรงค์กำลังเรียกร้องให้ชาวอิสราเอล คว่ำบาตรสินค้า และบริษัทต่างๆ ของประเทศสวีเดน เช่น Ikea และVolvo เนื่องจากหนังสือพิมพ์ Aftonbladet ของสวีเดนตีพิมพ์ข่าววัยรุ่นปาเลสไตน์ถูกทหารอิสราเอลจี้ตัวไปเพื่อตัดอวัยวะในร่างกาย สื่ออิสราเอลรายงานมีผู้เข้าชื่อสนับสนุนการรณรงค์ทางอินเตอร์เน็ตแล้ว 10,000 ชื่อใน 2 วัน หลังจากรัฐบาลสวีเดนบอกปัดไม่ประณามหนังสือพิมพ์ดังกล่าวตามที่อิสราเอลเรียกร้อง โดยอ้างเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารตามรัฐธรรมนูญ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สวีเดนกล่าวว่า เขาไม่ได้ต่อต้านเชื้อชาติ แต่เรื่องนี้มีประเด็นที่น่าจะนำเสนอ กลุ่มอิสราเอลที่รณรงค์มาจาก โมรอน ฮัจบี ซึ่งเป็นหน่วยทหารกองหนุนของอิสราเอล ร้าน Ikea ที่เป็นเป้าหมายคว่ำบาตรครั้งนี้ มีอยู่เพียงแห่งเดียวในอิสราเอล แต่ผู้บริหารบอกว่า ยอดขายยังไม่กระทบกระเทือนตั้งแต่เริ่มมีข่าวรณรงค์ ส่วนบริษัทวอลโว่ ซึ่งขายรถได้ประมาณปีละ 1,100 คันก็ไม่ปรากฏความสูญเสียเช่นกัน มีรายงานการประท้วงหน้าสถานทูตสวีเดนในเทลอาวีฟ ก่อนหน้านี้มีข่าวเล่าลือว่าทหารอิสราเอลขโมยตัดอวัยวะจากศพชาวปาเลสไตน์ แต่ข่าวดังกล่าวยังไม่ไปถึงหูสื่อตะวันตก เรื่องนี้น่าจะมีผลต่อการเยือนอิสราเอลของ Carl Bildt รัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดนในเดือนหน้า ซึ่งสวีเดนดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาสันติภาพตะวันออกกลาง ผลสำรวจแสดงว่าชาวสวีเดนสนับสนุนท่าทีของรัฐบาลในเรื่องนี้ เนทันยาฮูถึงกับออกปากในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่ได้ต้องการคำขอโทษจากรัฐบาลสวีเดน เพียงแต่ขอให้ช่วยประณามหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวนี้ ซึ่ง ทูตสวีเดนประจำอิสราเอล เป็นผู้เดียวที่ออกมากล่าวว่า ข่าวนี้ก่อให้เกิดความตระหนก แต่เขาก็ทำให้รัฐบาลต้องถูกซักฟอกในเรื่องนี้ โดยฝ่ายค้านของสวีเดนออกมาปกป้องหนังสือพิมพ์ว่ามีเสรีภาพในการเสนอข่าว และให้รัฐบาลอบรมทูตให้ซาบซึ้งในข้อกำหนดรัฐรรมนูญของประเทศ และดูแลให้ทำตามอย่างเคร่งครัด สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในโลก ที่ผ่านกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารตั้งแต่ปี 1766 (พ.ศ. 2309) |