มุสลิมไทยดอทคอม www.muslimthai.com คนงานในเมืองเล็กๆ ชื่อ Khairpur ซึ่งอยู่ทางเหนือห่างไป 40 กิโลเมตรจากเมืองการาจี กำลังช่วยกันขนส่งอินทผลัม ซึ่งมีปริมาณความต้องการมากขึ้นระหว่างเดือนรอมฎอน  ชุดอินทผลัม
Mohammad Bahsir Mahar ประธานสมาคมตลาดอินทผลัมกล่าวว่า ความต้องการอินทผลัมพุ่งขึ้นสูงสุดในช่วงนี้ เพราะทุกคนปฏิบัติตามจริยวัตรของนบีมุฮัมมัด (ศอล ฯ) ซึ่งละศีลอดด้วยอินทผลัม ปากีสถานเป็นผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอียิปต์ อิหร่าน และซาอุดี้อาระเบีย และยังเป็นผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับสองของโลก อินทผลัมเรียกขานเป็นภาษาท้องถิ่นว่า Khajji หรือ Khajoor ปีนี้ปากีสถานผลิตอินทผลัมทั้งส่งออก และบริโภคในประเทศได้ 600,000 ตัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในเดือนรอมฎอน โดยพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตที่ปลูกอินทผลัมได้ผลดี เพราะมีดินที่อุดมและแสงแดดที่พอเหมาะ นอกจากนั้น ในเขตแนวชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดบาลูจิสถาน เดราอิสมาอีลข่าน มุลตาน และซุกกูร ก็ปลูกอินทผลัมได้ดีเช่นกัน  ชุดอินทผลัม สวยงาม
ในปากีสถานมีอินทผลัมพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 300 ชนิด เช่น Karbalaee Aseel และ Madni ก่อนหน้าเดือนรอมฎอนมาถึง จะมีการจัดงานแสดงสินค้าอินทผลัม ซึ่งจะมีการสั่งกันล่วงหน้าที่นี่ อินเดียเป็นผู้ซื้อหลักไม่เฉพาะเดือนรอมฎอน เพราะชาวฮินดูก็ใช้อินทผลัมในพิธีต่างๆ เช่นกัน  ชุดอินทผลัม
อินทผลัมจึงกลายเป็นสินค้าที่เพิ่มรายได้ให้แก่ชาวปากีสถาน โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะทำหน้าที่เก็บอินทผลัม หรือบางคนก็ตั้งแผงขายบริเวณมัสยิด สถานที่ทำงาน ตามสี่แยก และบนรถประจำทางและรถไฟ เพื่อหารายได้เตรียมไว้ใช้ฉลองวันอีดต่อไป - www.muslimthai.com |