สำนักข่าวมุสลิมไทย ชนกลุ่มน้อยต่างศาสนาในตุรกีหวังรัฐธรรมนูญใหม่ให้สิทธิ์เท่าเทียมมุสลิม
สำนักข่าวอัล-อาราบิญา – ในขณะที่รัฐบาลตุรกีวางแผนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ชาวตุรกีที่ไม่ได้นับถืออิสลามคาดหวังว่า พวกเขาจะได้รับการรับรองและคุ้มครองจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย

เดิมตุรกีมีสนธิสัญญา Lausanne ซึ่งทำขึ้นตั้งแต่สมัยที่ตุรกีประกาศอิสรภาพเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 โดยสนธิสัญญานี้ให้ความคุ้มครองชาวคริสเตียนกรีกออร์โธด๊อกซ์กลุ่มน้อยในตุรกี ในขณะเดียวกันชาวมุสลิมตุรกีในประเทศกรีซก็ได้รับความคุ้มครองจากสนธิสัญญานี้ด้วย สนธิสัญญานี้มีการลงนามโดยกรีซ อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2467 และถูกขึ้นทะเบียนในหมวดสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ก่อนจะมีการจัดตั้งสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2488 แต่ในปัจจุบันชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เห็นว่าการคุ้มครองโดยสนธิสัญญาลูซานน์ไม่มีประโยชน์
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อาร์เมเนียน วีคลี่ กล่าวว่า ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาต่างๆ ในตุรกี ไม่ได้ต้องการสิ่งใดมากไปกว่า การได้รับการคุ้มครองและรับรองสิทธิ์ในฐานะเป็นพลเมืองตุรกีเท่าเทียมกับกับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม และการรับรองนี้ไม่ควรหยิบยื่นให้โดยสนธิสัญญานานาชาติ แต่ต้องเป็นรัฐบาลตุรกีเองที่ต้องทำหน้าที่นี้
นอกจากนั้น การให้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ ในตุรกี ควรทำอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแต่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อต้องการให้สหภาพยุโรปเห็นว่า ควรจะรับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกถาวรเท่านั้น - www.muslimthai.com |