สำนักข่าวมุสลิมไทย ผู้ประกอบกิจการฮัจย์ทั่วประเทศ 86 ราย จำนวนผู้แสวงบุญ 20,000 กว่าคน มีมติไม่ลงทะเบียนออนไลน์ กับ กรมการศาสนา
เหตุผลไม่มีหลักประกันกับผู้ที่ลงทะเบียนทั้งหมดพร้อมชำระเงินคนละ 50,000 บาท ซึ่งจะต้องใช้เงินพันล้านบาท เข้าบัญชีกรมการศาสนาผ่านระบบไอแบ็งคกิ้ง โควต้าฮัจย์น้อยกว่ายอดผู้แสวงบุญมาก เงินไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหา พึ่งสำนักจุฬาราชมนตรีทำความเข้าใจกับซาอุดีอาราเบียเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ไทย อย่างเป็นรูปธรรม
แหล่งข่าวรายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 มีนาคม 2554 เวลา 11.00-14.30 น. ณ โรงแรมโฆษิต หาดใหญ่ ทางสมาคมผู้ประกอบกิจการฮัจย์ภาคใต้และภาคกลาง ประชุมผู้ประกอบกิจการฮัจย์ จำนวน 86 ราย แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการลงทะเบียนผู้แสวงบุญประจำปี 2554 กับกรมการศาสนา
และแถลงข่าวยืนยันว่า
- กระทรวงวัฒนธรรมและกรมการศาสนา เบี้ยวผู้ประกอบกิจการฮัจย์และไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาฮัจย์ของพี่น้องมุสลิมในประเทศไทย เพราะกรมการศาสนา ยืนกรานและไม่ประนีประนอมกับผู้ประกอบกิจการฮัจย์ และไม่ให้หลักประกันกับผู้ที่จะลงทะเบียนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2554 ซึ่งมียอดสูงประมาณ 20,000 กว่าคน
- และจะต้องใช้เงินในการลงทะเบียนทั้งหมด 1,000,000,000 บาท ( หนึ่งพันล้านบาท ) เก็บไว้ในบัญชีกรมการศาสนา เป็นระยะเวลาหลายเดือน
- กรมการศาสนา ไม่สนใจในความเดือดร้อนของผู้นำกลุ่ม ( แซะห์ ) และผู้ประกอบกิจการฮัจย์ที่จะต้องตอบคำถามให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ปีนี้ ( พ.ศ.2554 ) เพราะทุกคนชำระเงินคนละ 50,000 บาท
แต่รายชื่อที่สามารถอยู่ในโควตาฮัจย์ ประมาณ 12,760 กว่าคน หลังจากหักให้กับหน่วยงานราชการตามที่กรมการศาสนา ระบุในหลักเกณฑ์
กิจการฮัจย์ของไทยมีปัญหาทุกปีแล้ว เพราะไม่มีความจริงใจจากรัฐบาลในการแก้ปัญหา ถึงแม้ว่า ท่านจุฬาราชมนตรี ได้นำคณะตัวแทนสมาคมฯและประธานคณะกรรมการอิสลาม ประจำ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีการสั่งการเป็นกรณีพิเศษจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหากิจการฮัจย์ทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้น ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 มีนาคม 2554 เวลา 11.00-14.30 น. ณ โรงแรมโฆษิต หาดใหญ่
แต่กรมการศาสนา ในฐานะสำนักเลขาธิการ๕ระกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯ อาศัยมติบอร์ดเล่นงานผู้ประกอบกิจการฮัจย์เหมือนเดิม
โดยไม่สนใจที่จะหาแนวทางอื่นๆที่ไม่ต้องใช้เงิน จึงทำให้ผู้ประกอบกิจการฮัจย์และแซะห์ สงสัยทำไมกรมการศาสนาอยากจะได้เงินของผู้ลงทะเบียนทั้งหมดเหลือเกิน ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาล ทั้งๆเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมากรมการศาสนาไม่ได้ใช้เงินแม้แต่นิดเดียว
แต่หลังจากใช้เงินทำให้ระบบของการแข่งขันเพื่อตัดยอดโควต้าผู้แสวงบุญเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากันๆของแต่ละบริษัท กรมการศาสนาสัญญาว่า จะตัดบัญชีรายชื่อท้ายๆบัญชี จึงทำให้ผู้ประกอบการฯมีการส่งรายชื่อที่ไม่จริงเพื่อหวังยอดตัดบัญชี
มติที่ประชุมในวันที่ 20 มีนาคม 2554 เอกฉันท์ ผู้ประกอบกิจการฮัจย์แบ่งโซนรับผิดชอบ จังหวัดสงขลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี ภาคใต้ตอนบน และกรุงเทพมหานคร รวบรวมหลักฐานบัญชีรายชื่อของผู้แสวงบุญที่จะเดินทางจริง ( แจ้งยอดเท็จเท่าไร หักลงโทษ 1 เท่า ) เรียบเรียงหนังสือเดินทางฉบับจริง สำเนาหนังสือเดินทางประทับตราบริษัททุกแผ่น/เซ็นกำกับ บรรจุกระเป๋าของแต่ละบริษัท ส่งให้สำนักจุฬาราชมนตรี ในวันที่ 24 มีนาคม 2554
โดยมีเจตนาไม่สร้างความขัดแย้งกับหน่วยงานใดๆแต่ต้องการทำความเข้าใจกับกรมการศาสนา ถ้าไม่มีความพร้อมหรือไม่เต็มใจที่จะดำเนินการกิจการฮัจย์ให้แก่พี่น้องมุสลิม และสร้างความรู้สึกไม่เป็นมิตร ผู้ร่วมงานกับผู้ประกอบกิจการฮัจย์จะขอโอนย้ายงานกิจการฮัจย์ไทยของให้เป็นภารกิจที่องค์กรพี่น้องมุสลิมจะต้องมาดูแล เอาใจใส่ ให้เกิดความสะดวก ร่วมกันแก้ปัญหากิจการฮัจย์ โดยเฉพาะจำนวนยอดผู้แสวงบุญประจำปี และการดำเนินงานต่างๆในสัญญาเช่าที่พักที่ผ่านมามีปัญหาติดต่อกัน 4 ปี ที่ไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลไทย
 เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 มีนาคม 2554 เวลา 11.00-14.30 น. ณ โรงแรมโฆษิต หาดใหญ่
การที่กรมการศาสนาให้ผู้ประกอบกิจการฮัจย์ มอบอำนาจ และยินยอมให้กรมการศาสนาปฏิบัติงานแทนผู้ประกอบกิจการฮัจย์ ทั้งๆไม่ใช่หน้าที่ของกรมการศาสนา เป็นเหตุผลที่ผู้ประกอบกิจการฮัจย์ จำนวน 43 ราย ได้ฟ้องศาลปกครองกลาง กรุงเทพฯ ให้ไต่สวนฉุกเฉินและคุ้มครองผู้ประกอบกิจการฮัจย์. - www.muslimthai.com |