นัก จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า นักวิ่งที่ไม่ได้ใส่รองเท้ามีแนวโน้มจะเกิดอาการบาดเจ็บน้อยกว่าคนที่ใส่ รองเท้าวิ่ง เนื่องจากจังหวะการลงเท้าแต่ละก้าวที่ต่างกัน
ดาเนียล ลีเบอร์มัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เขียนในวารสารว่านักวิ่งที่ใส่รองเท้ามักจะใช้ส้นเท้าลงพื้นก่อนเวลาวิ่ง ขณะที่คนวิ่งเท้าเปล่าจะใช้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นก่อน
"คนที่ไม่ใส่ รองเท้าเวลาวิ่งมีจังหวะก้าวที่แตกต่างไปอย่างน่าแปลกใจ ด้วยการใช้ฝ่าเท้าลงพื้น ส่งผลให้แทบจะไม่เกิดแรงปะทะ ผิดกับคนใส่รองเท้าที่มักเกิดแรงปะทะเวลาลงส้นเท้า" ลีเบอร์มันรายงาน
นอก จากนี้เขายังพบอีกว่าคนส่วนใหญ่มักคิดว่าการวิ่งเท้าเปล่าเป็นอันตราย แต่จริงๆแล้วเราสามารถวิ่งเท้าเปล่าบนพื้นผิวที่แข็งที่สุดโดยปราศจากอาการ บาดเจ็บได้ ซึ่งต้องระวังแค่แผลถลอกบนผิวหนังเท่านั้น
ลีเบอร์มัน แนะนำว่าคนที่ปกติใส่รองเท้าวิ่งและต้องการจะเปลี่ยนมาวิ่งเท้าเปล่า ไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบโดยทันทีทันใด แต่ต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อสร้างกล้ามเนื้อน่องและเท้าทีละน้อย