มุสลิมไทยดอทคอม ทัศนะคติมุสลิมอังกฤษกับการคลุมฮิญาบ www.muslimthai.com ไคโร ผู้หญิงมุสลิมอังกฤษเช่น โซฮา เช้ค มีความเห็นว่า ไม่มีสิ่งขวางกั้นระหว่างการคลุมศีรษะ กับการเป็นคนอังกฤษ แต่กลับจะเป็นการแสดงจุดเด่นของความเป็นมุสลิมอังกฤษมากกว่า  โซฮา เช้ค
โซฮา วัย 25 ปี จบปริญญาตรีด้านสื่อ และทำงานเป็นผู้ช่วยในห้องสมุด เธอคลุมศีรษะตั้งแต่อายุ 12 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเธอไปแล้ว รวมทั้งเธอยังดีใจที่ไม่ต้องเห่อไปตามแฟชั่น อย่างที่ชาวตะวันตกนิยมกัน
โซฮายอมรับว่าเมื่อพูดถึงฮิญาบ ศาสนิกอื่นจะรู้สึกว่าเป็นการกดขี่ แต่ก็ยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเห็นว่า แท้จริงแล้วฮิญาบเป็นการปลดปล่อย เป็นอิสระ และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยก
รัจนารา อัคต้าร์ ก็เป็นสาวอังกฤษอีกคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวที่มีพี่/- น้องเป็นผู้หญิงคลุมฮิญาบถึง 7 คน เธอเห็นว่า การที่ไม่ได้อธิบายเหตุผลของการคลุมฮิญาบให้คนอื่นๆ เข้าใจตั้งแต่ต้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก และคลุมเครือ
รัจนารายังคงเห็นว่า การคลุมฮิญาบในอังกฤษ ไม่ได้ถูกมองอย่างอคติเหมือนเช่นในประเทศยุโรปอื่นๆ เพราะเป็นที่ยอมรับในสังคมชาวอังกฤษทั่วไป
ทาฮฺมิน่า ซาลีม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอินสไปร์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาสำหรับสตรีมุสลิมให้มีส่วนร่วมในสังคม กล่าวว่า การตัดสินใจคลุมฮิญาบมาจากหลายเหตุผล บางคนคลุมเพราะความเคร่งครัดในศาสนา หรือเพื่อแสดงเอกลักษณ์ตัวตน และแม้แต่เหตุผลทางการเมือง
สำหรับโซฮา การตัดสินใจคลุมฮิญาบในครั้งแรก ก็เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับกลุ่มชนที่มีภูมิหลังมาจากปากีสถาน แต่ต่อมาความรู้สึกนั้นเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเอกภาพของมุสลิม
เชลิน่า ซะฮฺรอ ยานมุฮัมมัด วัย 34 ปี คลุมศีรษะตั้งแต่อายุ 13 แต่เธอยอมรับว่าไม่ได้ทำเป็นกิจวัตร เพราะสมัยที่เป็นนักเรียนเธอรู้สึกว่าเข้ากับเพื่อนๆ ไม่ได้ถ้าคลุมศีรษะ แต่พอเริ่มเข้ามหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเธอหันมาคลุมศีรษะเป็นประจำ ซึ่งทุกคนก็ยอมรับในความเป็นตัวตนของเธอเช่นนี้
เชลีน่า เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง Love in a Headscarf หลังจากได้อ่านและเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับผ้าชิ้นสำคัญนี้ ที่เมื่อผู้ใดได้คลุมแล้วก็ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ อ่อนน้อมถ่อมตน และนำพาไปสู่ความเป็นมุสลิมที่ดี - มุสลิมไทยดอทคอม
|