PARIS (Reuters) - Several mayors of French towns faced with growing demands from Muslim residents say they fear a proposed ban on head-to-toe burqa and niqab veils could not be enforced and might even prompt more women to cover up. The mayors expressed their doubts to a parliamentary panel set up to study a possible ban after President Nicolas Sarkozy declared in June that full veils symbolized the subjugation of women and would "not be welcome on our territory." ปารีส ผู้ว่าราชการในเมืองต่างๆ ของประเทศฝรั่งเศส ได้แสดงความกังวลสงสัย ต่อคณะกรรมการที่รัฐสภาฝรั่งเศสตั้งขึ้น เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการห้ามสวมชุดแบบนิกอบในที่สาธารณะ ด้วยเกรงว่า การเสนอห้ามแต่งกายดังกล่าว จะไม่สามารถผ่านเป็นกฎหมายออกใช้บังคับ และจะทำให้เสมือนเป็นการกระตุ้นให้มีการแต่งกายชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ทำนองว่ายิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ การห้ามคลุมศีรษะในโรงเรียนเมื่อปี 2004 ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการเมืองต่างๆ รวมทั้งครูในโรงเรียน แต่คราวนี้ผู้ว่า ฯ 5 เมือง ที่ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในวัฒนธรรมอันหลากหลาย โดยเฉพาะในแถบชานเมืองหลวงที่มีมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก เกิดความลังเล และเห็นว่าคราวนี้น่าจะเป็นการยากกว่าคราวก่อน เพราะอาจจะมีการต่อต้านการกดดัน ทำให้มีผู้แต่งบุรก้ามากขึ้น คล้อด ดิลลิแอน ประธานสมาคมผู้ว่าราชการเขตเมือง และเขตชานเมือง และยังเป็นผู้ว่าฯ ในเขต Clichy-sous-Bois ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงปารีส ได้ตั้งข้อสงสัยกับคณะกรรมการดังกล่าวว่า ใครจะมีหน้าที่จับกุมหากกฎหมายนี้ผ่านออกใช้บังคับ ส่วนผู้ว่าแซเวียร์ เลอโมน แห่งเขตมองเฟอเมยย์ กล่าวว่ารู้สึกลังเลที่จะสนับสนุนการผ่านกฎหมายนี้ โดยเขาเลือกที่จะไม่ทำในสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลเสียตามมา ฝรั่งเศสถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูจากประเทศในกลุ่มอาหรับ รวมทั้งจากผู้นำชุมชนมุสลิมในฝรั่งเศสเอง หลังจากมีการริเริ่มในเรื่องนี้ มีความสงสัยใคร่รู้เพิ่มขึ้น เมื่อผลการสำรวจปรากฏว่ามีผู้สวมชุดดังกล่าวทั่วประเทศไม่เกิน 400 คน อังเดร เกอลิน ประธานคณะกรรมการที่รัฐสภาตั้งขึ้น และเคยเป็นผู้ว่าฯ ในเขตชานเมืองลียอง กล่าวว่า ชุดดังกล่าวเป็นประเพณีของมุสลิมบางกลุ่ม และเป็นการแสดงถึงความต้องการอยู่อย่างสันโดษ เขายังเสนอแนะให้คณะกรรมการปรึกษากับผู้นำกลุ่มมุสลิม และเปิดรับฟังความเห็นจากเขตต่างๆ รวมทั้งควรไปเยือนกรุงบรัสเซลล์ ก่อนกำหนดยื่นรายงานในปีหน้า มีผู้ว่า ฯ อีกหลายคนที่เห็นด้วยกับการห้ามสวมชุดบุรก้า โดยกล่าวว่า จะยืนหยัดเพื่อปกป้องแบบอย่างของการปกครอง ที่แยกส่วนระหว่างศาสนากับการเมือง และเพื่อปกป้องสิทธิของผู้หญิง มีการเปิดเผยว่า หน่วยงานปกครองตามเมืองต่างๆ ได้รับข้อเรียกร้องเกี่ยวเนื่องกับศาสนามากขึ้น อาทิ ขอให้จัดอาหารกลางวันฮาลาลที่โรงเรียน ขอช่วงเวลาพิเศษเฉพาะผู้หญิงตามสระว่ายน้ำ ไม่เว้นแม้แต่ในโรงพยาบาลที่ผู้หญิงมุสลิมบางคนไม่ยอมให้หมอผู้ชายรักษาโรคให้ มีรายงานว่ามุสลิมที่ไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ถูกกดดันโดยชุมชน และข้าราชการหลายคนถูกหาว่าเกลียดชังมุสลิม เมื่อปฏิเสธไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องที่เห็นว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ว่าหลายคนเรียกร้องให้รัฐสภา ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ยังไม่มีการสรุปว่าจะดำเนินการเช่นไร ผู้แปลขอสงวนสิทธิ์เฉพาะ muslimthai.com เท่านั้น |